อ.วิศวฯ จุฬา เผย โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด เป็นพลังงานสะอาด ช่วยโลกลดการปลดปล่อยก๊าซ CO2 จากกระบวนการผลิตไฟฟ้าได้ เพื่อก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutrality) ของประเทศ - CyberAInews ข่าวธุรกิจ888

CyberAInews ข่าวธุรกิจ888

ข่าวเด่น ดารา บันเทิง ข่าวธุรกิจ เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีAi ข่าวธุรกิจ888 cyberainews by chokweekly chokcyberai

Facebook CyberAi news

Post Top Ad

29 มีนาคม 2567

อ.วิศวฯ จุฬา เผย โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด เป็นพลังงานสะอาด ช่วยโลกลดการปลดปล่อยก๊าซ CO2 จากกระบวนการผลิตไฟฟ้าได้ เพื่อก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutrality) ของประเทศ

ความมั่นคงด้านพลังงาน โดยเฉพาะไฟฟ้า เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันศึกษาให้ประเทศไทยมีไฟฟ้าใช้อย่างต่อเนื่องในระยะยาว  เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชนและรองรับกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ แต่ในขณะเดียวกัน การผลิตไฟฟ้าที่ใช้อยู่ในปัจจุบันยังอาศัยเชื้อเพลิงจากฟอสซิลเป็นหลัก จึงมีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นปริมาณมาก  ดังนั้นการเพิ่มสัดส่วนเทคโนโลยีพลังงานสะอาดมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า จึงเป็นเป้าหมายสำคัญ และหนึ่งในพลังงานสำคัญที่จะสามารถใช้ผลิตไฟฟ้า และเป็นพลังงานที่สะอาดปราศจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) นั่นก็คือพลังงานนิวเคลียร์ ที่ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง


ผศ.ดร.พงษ์แพทย์ เพ่งวาณิชย์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เปิดเผยว่า เมื่อพูดถึงพลังงานนิวเคลียร์ สิ่งแรกที่คนมักจะนึกถึงก็คือภาพของระเบิด ไม่ว่าจากในสงครามหรือจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับโรงไฟฟ้าในอดีต แต่แท้จริงแล้วการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตไฟฟ้านั้น จะให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในระดับที่สูงมาก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายอย่างที่หลายคนกังวลได้ และเทคโนโลยีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์รุ่นใหม่ๆ ในปัจจุบัน อย่างเช่นโรงไฟฟ้าขนาดเล็กแบบโมดูลาร์ (small modular reactor, SMR) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่หลายประเทศกำลังให้ความสนใจอย่างมากในขณะนี้ ก็มีระบบป้องกันต่างๆ เพิ่มขึ้นมากมาย ทำให้มีความปลอดภัยมากกว่าโรงไฟฟ้ารุ่นเก่าหลายร้อยเท่า

อีกทั้งพลังงานนิวเคลียร์ที่ใช้เชื้อเพลิงคือ แร่ยูเรเนียม ในการผลิตไฟฟ้านั้นถือเป็นพลังงานสะอาด เพราะระหว่างกระบวนการผลิตนั้นจะไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาสู่สิ่งแวดล้อม แตกต่างจากการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิลอย่างน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ ที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเป็นจำนวนมาก และเป็นสาเหตุหลักสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศอย่างกระทันหัน นอกจากนี้พลังงานนิวเคลียร์ยังถือเป็นพลังงาน ที่มีความมั่นคงทางพลังงาน เนื่องจากเชื้อเพลิงคือแร่ยูเรเนียมนั้นค่อนข้างหาได้ง่ายและมีราคาต่ำ แตกต่างจากน้ำมันและแก๊สธรรมชาติที่ราคาผันผวนได้ตามสถานการณ์ของโลก หรือแสงแดดและลมซึ่งใช้ได้ในช่วงเวลาเฉพาะในแต่ละวันเท่านั้น


มีการศึกษาพบว่าในเมืองที่มีประชากร 1 ล้านคนจะใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตไฟฟ้าเพียงแค่ 4 พันกิโลกรัมต่อปีเท่านั้น ซึ่งหากเป็นแก๊สธรรมชาตินั้นต้องใช้มากถึง 6 พันล้านกิโลกรัมต่อปี แสดงให้เห็นถึงขีดความสามารถของพลังงานนิวเคลียร์ ที่จะสามารถสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศไทยได้

แม้ว่าปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีโรงไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ แต่ถ้าหากมีการผลักดันจะทำให้เกิดโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ได้นั้นจะทำให้ประเทศไทยมีความมั่นคงทางพลังงานและยังสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่โลกได้อีกเป็นจำนวนมาก ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงร่วมมือกับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในการสนับสนุนและผลักดันให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีพลังงานนิวเคลียร์ โดยเฉพาะเทคโนโลยี SMR  โดยได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการศึกษาและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ร่วมกันเพื่อเป็นทางเลือกในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ขับเคลื่อนประเทศสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality สร้างความมั่นคงทางพลังงานและสภาพแวดล้อมที่ดีของคนไทยอย่างยั่งยืน

 



#โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ #พลังงานสะอาด #ลดการปลดปล่อยก๊าซCO2  #ความเป็นกลางทางคาร์บอน #carbon neutrality

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Ad