กรุงเทพฯ 28 พฤษภาคม 2567 – ศ.เกียรติคุณ ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล (ที่ 5 จากซ้าย) ประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (#กสว.) พร้อมด้วยนายทศพล เผื่อนอุดม (ที่ 6 จากซ้าย) รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล (ที่ 8 จากซ้าย) ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (#สกสว.) และ ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ (ที่ 7 จากซ้าย) ประธานกรรมการกำกับติดตามแผนงานการนำ ววน. ไปใช้แก้ปัญหาวิกฤติฝุ่นละออง PM2.5 และกรรมาธิการวิสามัญร่างกฎหมายบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด เร่งนำงานวิจัยภายใต้การสนับสนุนจากกองทุน ววน. ร่วมหารือแนวทางการนำ ววน. แก้ไขปัญหาหมอกควัน ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 และปัญหาไฟป่าในจังหวัดเชียงใหม่ตามโจทย์และความต้องการของจังหวัดใน 4 มิติเร่งด่วน ได้แก่ การลดไฟในพื้นที่ป่าไม้ การจัดการระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ การลดไฟในพื้นที่เกษตร และการลดฝุ่นข้ามแดน โดยการจัดสรรงบประมาณ ในปี 2566 – 2567 เป็นเงินกว่า 150 ล้านบาท ผ่านหน่วยบริหารและจัดการทุน (PMU) สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) โดยกิจกรรมจัดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ ณ ห้องประชุม สำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
###
รายชื่อบุคคลในภาพจากซ้ายไปขวา
1. รศ.ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ รองผู้อำนวยการ #สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
2. ผศ.ดร.ชาคริต โชติอมรศักดิ์ คณะสังคมศาสตร์ ภาควิชาภูมิศาสตร์ #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
3. ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ #กรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.)
4. ศ.ดร.ปังปอนด์ รักอำนวยกิจ กรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.)
5. ศ.เกียรติคุณ ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.)
6. นายทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
7. ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ประธานกรรมการกำกับติดตามแผนงานการนำ ววน. ไปใช้แก้ปัญหาวิกฤติฝุ่นละออง PM2.5 และกรรมาธิการวิสามัญร่างกฎหมายบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด
8. รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
9. ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร กรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.)
10. รศ.ดร.สุดสวาสดิ์ ดวงศรีไสย์ รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบ ววน. ปฏิบัติงานบริหารด้านการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น