คณะแพทย์ฯ จุฬา ร่วมกับ 10 องค์กรการแพทย์ชั้นนำของประเทศไทยและลาว ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์ม #MedUMORE โดยมีภาคีเครือข่าย ดังนี้
● แพทยสภา
● สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
● สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย
● สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย
● สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย
● ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย
● สมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งประเทศไทย
● สภาเทคนิคการแพทย์
● Faculty of Medicine, University of Health Sciences, Lao People's Democratic Republic.
● สมาคมนักสังคมสงเคราะห์ทางการเเพทย์ไทย
![]() |
พล.อ.ท. นพ.อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา และ ผศ.(พิเศษ) นพ.สุรินทร์ อัศววิทูรทิพย์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาว |
![]() |
พญ. กอบกุลยา จึงประเสริฐศรี พิธีกรงาน |
การเรียนแพทย์แบบก้าวกระโดด 1-2-10 Med Ed Exponential
คณะแพทย์ฯ พัฒนา Online Learning Platform ภายใต้ชื่อ “MedUMORE” โดยในการจัดงานครั้งนี้ นำเสนอภายใต้แนวคิด 1-2-10 (1 to 10) Med Ed Exponential ซึ่ง 1 หมายถึงวิสัยทัศน์ของ ในการเป็นผู้นำด้านคลังความรู้ออนไลน์ด้าน สุขภาพการแพทย์และสาธารณสุขที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย 2 หมายถึงการดำเนินงาน มาเป็นปีที่ 2 และมีการเข้าชมกว่า 2 ล้านครั้ง สามารถรองรับการใช้งานทุกรูปแบบ ตอบโจทย์วิถีชีวิตคนรุ่นใหม่และการเรียนรู้ที่ไม่จำกัดเพียงแค่ในตำรา โดยรวบรวมเนื้อหา จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ทั้งในระดับประเทศและระดับโลก ตลอดจนการประชุมวิชาการ และ 10 หมายถึงการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของการศึกษาทางด้านการแพทย์ หรือแบบ Exponential โดยการมีภาคีเครือข่ายเข้าร่วมให้ความรู้ทางการแพทย์และประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญของบุคลากรจาก 10 องค์กรแพทย์ ส่งเสริมให้ MedUMORE เป็น นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการแพทย์ สู่การเผยแพร่องค์ความรู้ทุกมิติบน Digital Platform ที่มีมาตรฐานเชื่อมต่อผู้ใช้งานทั่วโลก ให้สามารถเข้าถึงได้สะดวกรวดเร็ว ต่อเนื่องและปลอดภัย
รศ. นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย กล่าวว่า คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล็งเห็นถึงความ สำคัญของนวัตกรรมทางการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง และพร้อมที่จะผลักดันให้แพลตฟอร์ม MedUMORE เป็นโมเดลการเรียนการสอน ที่จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการศึกษาแพทย์ แบบดั้งเดิมไปสู่รูปแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพและตอบโจทย์การพัฒนาบัณฑิตแพทย์ยุคใหม่ได้มากยิ่งขึ้น ดังนั้นการผสานความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา และองค์กรทางการแพทย์ ชั้นนำในระดับประเทศและต่างประเทศ มีส่วนช่วยให้แพลตฟอร์มการเรียนรู้อย่าง #MedUMORE แข็งแกร่งและเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติและโลกอย่างมาก
![]() |
ศ. พญ.นิจศรี ชาญณรงค์ และ พล.อ.ท. นพ.อิทธพร คณะเจริญ |
ศ. พญ.นิจศรี ชาญณรงค์ รองคณบดี ฝ่ายบริการวิชาการ #คณะแพทยศาสตร์ #จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยว่า นับจากเริ่มเปิดตัวเมื่อเดือน มิถุนายน ปี พ.ศ. 2565 จวบจนถึงปัจจุบัน “MedUMORE” มีผู้เข้าชมครบ มากกว่า 2 ล้านครั้ง ซึ่งเห็นได้ว่าแพลตฟอร์ม MedUMORE นี้ สามารถตอบโจทย์เรื่องความรู้ทาง การแพทย์ให้แก่ผู้ที่สนใจ ไม่ว่าจะเป็นนิสิตแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงประชาชน ทั่วไป สามารถเข้ามาเรียนรู้ได้แบบไร้ขีดจำกัด สะดวกดูได้ทุกพื้นที่และเข้าใจง่าย ซึ่งองค์ ความรู้ที่ให้บริการมีหลากหลายรูปแบบ อาทิ E-Book คลิปวิดีโอ และเทคโนโลยี เสมือนจริง AR/VR ซึ่งเร็ว ๆ นี้ จะมีการนำเทคโนโลยี AI GPT Integration และ Multi Visual Learning เข้ามาเป็นตัวช่วยการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนด้วย
ซึ่งทิศทางการดำเนินงานในอนาคตอันใกล้ “MedUMORE” จะขยายความร่วมมือ กับกลุ่มพันธมิตรไปในองค์กรต่างๆทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้นเพื่อให้มีข้อมูล ที่หลากหลาย เหมาะกับนิสิตนักศึกษาแพทย์ยุคใหม่ที่ต้องการข้อมูลความรู้ที่รวดเร็ว ทันสมัยจนในที่สุดจะสามารถพัฒนาให้ “MedUMORE” เป็นศูนย์กลางความรู้ออนไลน์ ด้านการแพทย์ที่ครอบคลุมที่สุดพร้อมทั้งจัดระบบองค์ความรู้ด้านการแพทย์ที่มีอยู่ใน หลาย Platform ให้อยู่ในที่เดียวกัน เพื่อเชื่อมต่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงได้สะดวกรวดเร็วและปลอดภัยนอกจากนี้ยังมีการจัดประชุมวิชาการในรูปแบบใหม่โดยที่จะบูรณา การองค์ความรู้ทางการแพทย์ สู่ความเป็นเลิศลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงระบบการ ศึกษา และสร้างความเท่าเทียมด้านสาธารณสุขรวมทั้งเป็นผู้นำและศูนย์กลางการเรียนรู้ ระดับนานาชาติ
ผศ.(พิเศษ) นพ.สุรินทร์ อัศววิทูรทิพย์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการวิชาการ #คณะแพทยศาสตร์ #จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสริมว่า “#MedUMORE” ได้รวบรวม คอนเทนต์ด้านการแพทย์ไว้มากกว่า 2,000 คอนเทนต์ และคอร์สเรียนออนไลน์เนื้อหา ด้านการแพทย์มากกว่า 900 คอร์สเรียน และยังมีนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ล้ำสมัยให้ ความรู้เรื่องโรคภัยต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องเด่นประเด็นร้อนในสังคมผ่านคลิปวิดีโอสั้น ในช่วง “หมอขอเล่า” โดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านต่างๆ ถ่ายทอดความรู้อย่างถูกต้อง โดยมุ่งเป้าหมายให้เกิดพฤติกรรมการแชร์ข้อมูลสุขภาพบนมาตรฐานความรู้ทางวิชาการที่ถูกต้องในสื่อโซเชียล ซึ่งหลายครั้งสังคมส่งต่อข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง แต่หากเข้ามาสืบค้นใน MedUMORE ก็จะได้รับรู้ข้อมูลถูกต้องที่มาจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ โดยตรง พร้อมกล่าวถึงความพิเศษของแอปพลิเคชัน “MedUMORE” จะมีระบบจดจำ ประวัติการเข้าเรียน สามารถแนะนำเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้เรียนตามความสนใจ ในแต่ ละบุคคล เหมาะสำหรับนักเรียน นิสิตและนักศึกษาแพทย์ รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ และคอร์สชมฟรี สำหรับประชาชนแบบไม่ต้อง Login เมื่อเรียนแล้วยังสามารถทำแบบ ทดสอบวัดความเข้าใจ และได้รับ Certificate เมื่อเรียนจบอีกด้วย
![]() |
ศ. ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการแทนอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ พล.อ.ท. นพ.อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา |
Future Education, Future Learners, and Future Healthcare
นอกจากนี้ภายในงานมีการเสวนาเรื่อง “Future Education, Future Learners, and Future Healthcare อนาคตการศึกษาเพื่อการแพทย์ และสาธารณสุขยุคใหม่ของไทย” โดย ศ. ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการแทน อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กล่าวถึงวิสัยทัศน์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมการศึกษาและความสำคัญของการสร้างบัณฑิตยุคใหม่ที่มี ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพราะบทบาทของมหาวิทยาลัยนั้น นอกจากจะเป็นแหล่งรวม ความรู้แล้วยังต้องเป็นแหล่งช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อตอบโจทย์ประชาชนชาวไทย ขยายขอบเขตกว้างถึง Global citizen หรือประชากรโลกนั่นเอง “วันนี้ผมภูมิใจกับคณะ แพทยศาสตร์ที่มีแพลตฟอร์ม MedUMORE และภูมิใจที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีส่วน ช่วยสนับสนุนให้ MedUMORE เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่มีการรวบรวมเนื้อหาที่ครอบคลุม ในหลายด้านและองค์ความรู้จากความร่วมมือของหลายองค์กรชั้นนำ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ ด้าน สุขภาพกาย สุขภาพใจ สุขภาพเงินและการลงทุน ทักษะด้านบริหารและการจัดการ จากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาที่จะช่วยให้ท่านได้เติบโตขึ้นได้ ดังนั้นปัจจุบันเราไม่ได้ก้าว ตามโลกอีกต่อไป แต่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะก้าวล้ำโลก เราเป็นผู้ที่ชี้นำในระดับโลก ความเป็น Pioneer หมายความว่าเรามีนวัตกรรมทางการแพทย์ที่เป็นผู้นำ (Leading) กล่าวโดยสรุปคือ เรานำองค์ความรู้มาชี้นำสังคม ชี้นำประชากรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และนี่คือบทบาทที่ยิ่งใหญ่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”
รศ. ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงความสำคัญ ของการพัฒนาการทำงานในรูปแบบแพลตฟอร์ม (Platform) เพราะสามารถเพิ่มประสิทธิ ภาพในการทำงานลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นลงได้ พร้อมทั้งยกตัวอย่างการที่กรุงเทพมหานคร ได้นำแพลตฟอร์มมาใช้ในการจัดการเรื่องร้องเรียน “คนมักจะร้องเรียน นอกเวลาราชการ ซึ่งมีมากถึง 60% ดังนั้นเป็นการดีที่คณะแพทย์ได้พัฒนาแพลตฟอร์มนี้ขึ้นมา เพราะเป็น การรองรับการเรียนตามอัธยาศัย” ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาระบบสาธารณสุข และการ ให้บริการทางการแพทย์ ที่ทันสมัยต่อประชาชนในเมืองหลวง และการมีส่วนช่วย สนับสนุนน วัตกรรมใหม่ๆ ได้อีกด้วย
พล.อ.ท. นพ.อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวถึงบทบาท ของแพทยสภา ในการกำกับมาตรฐานการศึกษาแพทย์ให้ได้คุณภาพ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดี ว่าแพทยสภา มีส่วนช่วยในการสร้างมาตรฐานการผลิตบัณฑิตแพทย์ ซึ่งมีแพทย์ที่จบ การศึกษาประมาณปีละ 3,000 คน จาก 25 มหาวิทยาลัย ดูแลประชาชนทั่วประเทศ ขณะเดียวกันแพทย์เองจะต้องเรียนรู้ทักษะด้านการรักษาเพิ่มเติมจาก 14 ราชวิทยาลัย 95 สาขาความเชี่ยวชาญ ซึ่งการฝึกฝนและการเรียนรู้ทางการแพทย์นั้นจะหยุดนิ่งไม่ได้ และเสริมว่า “วันนี้ MedUMORE ตอบโจทย์หลายอย่างมากๆ ให้คุณหมอหลายท่าน ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ ที่ไม่มีเวลาเดินทางมาเข้าประชุมวิชาการ สามารถอัพเดทความรู้ ที่ ทันสมัยอยู่เสมอ ปัจจุบันแพทยสภาได้นำองค์ความรู้หลายชุดใส่เข้าไป และให้แพทย์ เข้ามาทดลองเรียนรู้ ซึ่งเกิดประโยชน์อย่างมาก ตอบโจทย์การรักษาเป็นอย่างมาก แพทย์ สามารถศึกษาหาความรู้ได้จากที่ใดก็ได้ และสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ได้ทันที ให้กับคนไข้ในพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะพื้นที่ห่างไกลให้ได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพ เท่าเทียมกับการรักษาในเมืองหลวง”
รศ. นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวสรุปและเน้นย้ำแนวทางการดำเนินการของ MedUMORE ในฐานะผู้ขับเคลื่อน องค์ความรู้ทางการแพทย์ยุคใหม่ เพื่อให้เป็นแพลตฟอร์มของคนไทย ที่คนต่างชาติเข้ามา เรียนรู้ เป็นศูนย์กลางแหล่งสืบค้นข้อมูลทางการแพทย์ที่ดีที่สุด ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ให้สอดรับกับ Future Healthcare และอนาคตการศึกษาเพื่อการแพทย์ และสาธารณสุข ของไทย ที่ทำให้คุณภาพชีวิตของคนไทยและสังคมโลกดีขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น