“ศุภมาส” เตรียมคิกออฟนโยบาย “อว. for Economic Corridors” หนุนขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทยใน 4 ภูมิภาค - CyberAInews ข่าวธุรกิจ888

CyberAInews ข่าวธุรกิจ888

ข่าวเด่น ดารา บันเทิง ข่าวธุรกิจ เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีAi ข่าวธุรกิจ888 cyberainews by chokweekly chokcyberai

Facebook CyberAi news

Post Top Ad

01 กรกฎาคม 2567

“ศุภมาส” เตรียมคิกออฟนโยบาย “อว. for Economic Corridors” หนุนขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทยใน 4 ภูมิภาค

 

กรุงเทพฯ 1 กรกฎาคม 2567นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการ #กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (#อว.) เปิดเผยถึงการเตรียมนโยบาย อว. for Economic Corridors ซึ่งเป็นนโยบายเพื่อรองรับการขับเคลื่อนงานระเบียงเศรษฐกิจพิเศษในระดับภูมิภาค ผ่านการใช้องค์ความรู้วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ใน 3 มิติหลัก ได้แก่ ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ ที่จะกระตุ้นความสามารถในการสร้างสินค้าและบริการ ให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด หรือ GPP เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด รวมทั้งเกิดการจ้างงาน และการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ ด้านคุณภาพชีวิต กับการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนในด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ และด้านการพัฒนากำลังคนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ ที่จะสอดคล้องกับความต้องการของตลาดพร้อมทั้งเกิดผู้ประกอบการเป้าหมายฐานนวัตกรรมและผู้ประกอบการท้องถิ่น จำนวน 2,000 ราย และนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยในพื้นที่ จำนวน 3,000 คน ภายในปี 2570 ทั้งนี้ นโยบายดังกล่าวจะมีการประกาศอย่างเป็นทางการเร็ว ๆ นี้ 

 


 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยถึงแผนการใช้กลไกด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนงานระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ว่า ตามที่ตนได้แถลงวิสัยทัศน์และประกาศเป้าหมายการพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับอุตสาหกรรม 3 ด้านในช่วงที่ผ่านมา ได้แก่ แผนพัฒนาระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศ และแผนพัฒนากำลังคนด้านเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor) และอิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ เพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนาประเทศ ปัจจุบัน อว. ยังได้เตรียม “Kick off อว. for Economic Corridors” เพื่อเตรียมประกาศนโยบาย อว. กับการขับเคลื่อนงานระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งหมุดหมายสำคัญที่กระทรวง อว. จะวางแผนร่วมกันในการขับเคลื่อนและรองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษของประเทศไทย ด้วยองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ซึ่งจะมีการประกาศนโยบายอย่างเป็นทางการเร็ว ๆ นี้ 

โดยเป้าหมายสำคัญที่จะเกิดจากการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษของประเทศไทย ที่ขับเคลื่อนด้วยองค์ความรู้ วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ตามบทบาทของ กระทรวง อว. ที่จะเกิดขึ้น ได้แก่

1. ด้านพัฒนาเศรษฐกิจ กับการใช้องค์ความรู้จากงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ กระตุ้นความสามารถในการสร้างสินค้าและบริการ ให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด หรือ GPP เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด เกิดการจ้างงาน และการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายของพื้นที่ ก่อให้เกิดรายได้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการในพื้นที่ เช่น

·      อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ / ดิจิทัล / เกษตรและอาหาร / ท่องเที่ยวและท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
(
Wellness Tourism) ในภาคเหนือ

·      อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร และไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ในภาคกลาง-ตะวันตก

·      อุตสาหกรรมชีวภาพ และ เกษตรและอาหาร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

·      อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร ชีวภาพ ท่องเที่ยวและท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism) ในภาคใต้

2. ด้านคุณภาพชีวิต ใช้ระบบนิเวศนวัตกรรมและโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ในการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ทั้งในด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ โดยหน่วยงานภายใต้กระทรวง อว. ได้แก่ มหาวิทยาลัย และสถาบันทางวิชาการ อุทยานวิทยาศาสตร์ ต่าง ๆ ในพื้นที่ทั่วทุกภูมิภาค ซึ่งมีบทบาทโดยตรงในการวิจัย พัฒนานวัตกรรม ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคเอกชนและหน่วยงานรัฐ

3.ด้านการพัฒนากำลังคนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ โดยกระทรวง อว. มีแผนที่จะพัฒนากำลังคน ด้านสมรรถนะทางความรู้ ความสามารถ และทักษะขั้นสูง เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ ทั้งบุคลากร ผู้ประกอบการในพื้นที่ เพื่อให้สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงและสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและการพัฒนาพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน พร้อมทั้งเกิด

·      ผู้ประกอบการเป้าหมายฐานนวัตกรรมและผู้ประกอบการท้องถิ่น จำนวน 2,000 ราย ภายในปี 2570

·      นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยในพื้นที่ จำนวน 3,000 คน ภายในปี 2570

ทั้งนี้การดำเนินการดังกล่าว เกิดจากการประสานความร่วมมือกันของหน่วยงานหลายภาคส่วนภายใต้กระทรวง อว. อาทิ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) หน่วยบริหารและจัดการทุน (PMU) อุทยานวิทยาศาสตร์ และมหาวิทยาลัย ฯลฯ ที่จะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ภาคการผลิต บริการของระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ สร้างการเติบโต และเศรษฐกิจฐานราก เศรษฐกิจภูมิภาค ส่งผลให้เกิดการขับเคลื่อนการพัฒนาที่เป็นไปอย่างยั่งยืน    

ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ สกสว. กล่าวว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อครั้งประชุมวันที่ 20 กันยายน 2565 เห็นชอบการกำหนดพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ใน 4 ภาค กระทรวง อว. โดย สกสว. ได้รับมอบหมายให้จัดทำแผนขับเคลื่อนการดำเนินงานในองค์ประกอบการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ด้านการวิจัยและพัฒนา และการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม นับเป็นครั้งแรกที่นโยบายประเทศมุ่งให้บทบาทสำคัญกับการใช้ข้อมูล องค์ความรู้ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ

อย่างไรก็ดี กระทรวง อว. หวังเป็นอย่างยิ่งว่า แผนขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ จะช่วยสร้างผลกระทบที่สำคัญของประเทศต่อการพัฒนาเศรษฐกิจที่สามารถเพิ่ม GPP ของจังหวัดอย่างก้าวกระโดด เกิดการจ้างงานและการลงทุนในพื้นที่ ที่จะนำไปสู่การเพิ่มคุณภาพชีวิต และส่งเสริมการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Ad