"#หมอเพชรดาว ที่ปรึกษาอว.” แนะเครือข่ายชุมชนภาคใต้ตอนล่าง - ภาคใต้ชายแดน ใช้โมเดล “#สันติภาพที่กินได้” ขจัดความยากจน พร้อมอัดกว่า 100 นวัตกรรมและเทคโนโลยีพร้อมใช้ เพิ่มศักยภาพในพื้นที่ - CyberAInews ข่าวธุรกิจ888

CyberAInews ข่าวธุรกิจ888

ข่าวเด่น ดารา บันเทิง ข่าวธุรกิจ เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีAi ข่าวธุรกิจ888 cyberainews by chokweekly chokcyberai

Facebook CyberAi news

Post Top Ad

15 สิงหาคม 2567

"#หมอเพชรดาว ที่ปรึกษาอว.” แนะเครือข่ายชุมชนภาคใต้ตอนล่าง - ภาคใต้ชายแดน ใช้โมเดล “#สันติภาพที่กินได้” ขจัดความยากจน พร้อมอัดกว่า 100 นวัตกรรมและเทคโนโลยีพร้อมใช้ เพิ่มศักยภาพในพื้นที่

 

กรุงเทพฯ 15 สิงหาคม 2567 #สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (#สกสว.) นำโดย แพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นำคณะผู้บริหารกระทรวง อว. และ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เข้าร่วมรับฟังข้อคิดเห็นจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างและสามจังหวัดชายแดนใต้ ผ่านงานสัมมนาพหุภาคีในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ แก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการ ภายใต้หัวข้อ “โหม๋ภาคีพร้อมพรั่ง เพิ่มพลังแก้จน ... ปรับปรนผลงาน ความรู้ เทคโนโลยีพร้อมใช้ โยงใยสู่ชุมชนนักปฏิบัติ” เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่อย่างแท้จริง

 

แพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้ติดตามการกระบวนการดำเนินงานและผลงานจากโครงการวิจัยแก้ไขปัญหาความยากจน ทั้ง 6 มหาวิทยาลัย ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) มาอย่างต่อเนื่อง เห็นบทบาทสำคัญของมหาวิทยาลัยในการขับเคลื่อน การนำองค์ความรู้ด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ (อววน.) สู่การพัฒนาพื้นที่ ซึ่งนับว่าเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของงาน นั่นคือ การใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาหนุนเสริมงานแก้ไขปัญหาความยากจนที่ปรากฏผลอย่างเป็นรูปธรรม ดังตัวอย่างผลงานกว่า 100 โมเดลแก้จนและเทคโนโลยีพร้อมใช้ทุกสถาบันการศึกษา ที่นำมาจัดแสดงในครั้งนี้

กระทรวง อว. โดย นางสาวศุภมาส อิศรภักดี มุ่งหวังให้ อว. เป็นกระทรวงเศรษฐกิจ สามารถสร้างรายได้ให้กับประชาชนและประเทศ โดยใช้ความรู้และนวัตกรรมที่มีเป็นความหวัง เป็นที่พึ่งให้ประชาชนในการพัฒนาเศรษฐกิจและแก้ไขปัญหาสำคัญ ซึ่งตรงกับเป้าหมายการดำเนินงานของโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน ทั้ง 6 มหาวิทยาลัยกำลังดำเนินการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ที่เรามักพูดถึงสันติภาพที่กินได้ นั่นคือ การดูแลพี่น้องประชาชนให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี สามารถพึ่งพาตนเองได้ก็เป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยสร้างสันติภาพในพื้นที่

 

ด้าน ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการ บพท. กล่าวว่า ที่ผ่านมา บพท. ได้สนับสนุนการวิจัย จากการจัดสรรงบประมาณของกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ กองทุน ววน. มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะงานวิจัยและนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และเกิดการขยายผลให้เกิดการพัฒนาในระดับพื้นที่ ซึ่งจะเป็นคานงัดและจุดเปลี่ยนอย่างแท้จริงในการพัฒนาประเทศที่มีความยั่งยืน โดยปัจจุบันได้มีการรวบรวมเทคโนโลยีและนวัตกรรมพร้อมใช้เอาไว้ในฐานข้อมูลกลาง ที่ชุมชนสามารถเข้ามาใช้ค้นหาข้อมูลได้ โดยบางเรื่องไม่จำเป็นต้องทำวิจัยใหม่ทุกครั้ง แต่สามารถเอาไปประยุกต์ใช้ได้

"ระบบฐานข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาพื้นที่และช่วยลดความซ้ำซ้อนการสนับสนุนทุนวิจัยได้ อย่างไรก็ตามความยั่งยืนของการพัฒนาระบบฐานข้อมูลจำเป็นต้องมีการสนับสนุนทุนวิจัยในลักษณะ Research Utilization เพื่อให้เกิดการใช้ระบบฐานข้อมูล App Tech Rajabhat มาขยายผลและยกระดับผลงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ควบคู่ไปกับ การพัฒนานวัตกรชุมชนทั่วประเทศ ซึ่ง สกสว.มีกลไก กองทุน ววน. เพื่อให้การสนับสนุนการนำผลวิจัยไปต่อยอดขยายผลการใช้ประโยชน์อยู่แล้ว และทาง บพท. ก็พร้อมที่จะร่วมมือกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อให้เกิดการพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่องและเป็นฐานข้อมูลสำหรับนวัตกรรมพร้อมใช้ที่จะช่วยสร้างนวัตกรชุมชนให้เพิ่มขึ้นต่อไป"











พร้อมกันนี้ ผู้อำนวยการ บพท. ได้นำเสนอแพลตฟอร์มขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำระดับจังหวัดโดยความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องใน 4 กลไก คือ กลไกภาคประชาสังคม กลไกภาครัฐ กลไกความรู้ และ กลไกตลาด เพื่อสร้างระบบและโครงสร้างการแก้ไขปัญหาคนจนด้วยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยมีการวางระบบข้อมูลครัวเรือนยากจนระดับพื้นที่เพื่อประเมินปัญหาและติดตามคนจนอย่างเป็นระบบ และสร้างระบบช่วยเหลือที่เชื่อมโยงกับระบบช่วยเหลือภาครัฐเอกชนและประชาสังคม และระบบการสร้างการเรียนรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีพให้เกิดรายได้ต่อตัวเองและครอบครัวอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน โดยดำเนินการต่อยอดและขยายผลการดำเนินงานต่อไป

สำหรับการจัดกิจกรรมประกอบด้วย เวทีเสวนาเรื่อง สะท้อนโหม๋แรงใจ “พลังวิจัยกับการสร้างชุมชนนักปฏิบัติ ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง และจังหวัดชายแดนใต้” นำโดย นางพาตีเมาะ สะดียามู ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี นายนันทพงศ์ สุวรรณรัตน์ รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) รศ.ดร.นิรมล สุธรรมกิจ ผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจการพัฒนาด้านสังคม สิ่งแวดล้อมเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ  สกสว. ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย ประธานอนุกรรมการที่ปรึกษาการขับเคลื่อนวิทยสถาน “ธัชภูมิ” เพื่อการพัฒนาพื้นที่  ดำเนินรายการ โดย ผศ.ดร.โอฬาร อ่องฬะ และ ผศ.ดร.สักรินทร์  แซ่ภู่  และ พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการขับเคลื่อนข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ (DSS) พื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขจัดความยากจนและยกระดับฐานะทางสังคมในจังหวัดชายแดนใต้ ระหว่างศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยนายนันทพงศ์ สุวรรณรัตน์ รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และจังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Ad