ที่ประชุมวุฒิสภา มีมติเห็นชอบ รับร่าง พ.ร.บ. #สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ฉบับที่...) พ.ศ.... - CyberAInews ข่าวธุรกิจ888

CyberAInews ข่าวธุรกิจ888

ข่าวเด่น ดารา บันเทิง ข่าวธุรกิจ เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีAi ข่าวธุรกิจ888 cyberainews chokweekly chokcyberai

Post Top Ad

กดติดตามได้ทาง https://www.ข่าวธุรกิจ888.cyberaitea.com

08 ตุลาคม 2567

ที่ประชุมวุฒิสภา มีมติเห็นชอบ รับร่าง พ.ร.บ. #สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ฉบับที่...) พ.ศ....

 ที่ประชุมวุฒิสภา มีมติเห็นชอบ  รับร่าง พ.ร.บ. #สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ฉบับที่...) พ.ศ....


 

ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ #สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (#วว.) #กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (#อว.)  นายศุภชัย    ใจสมุทร   รองประธานกรรมาธิการ  พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร วว. ประกอบด้วย ดร.อาภากร สุปัญญา รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์และจัดการนวัดกรรม  ดร.พัชทรา มณีสินธุ์ รองผู้ว่าการบริหาร นางสาวถนอมจิต วนวัฒนากุล  ผู้อำนวยการ สำนักบริหารการคลัง และนายชลธิศ  ศรีไทย ผู้อำนวยการ กองกฎหมาย เข้าร่วมการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ 37 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) เมื่อวันที่  7 ตุลาคม 2567 ณ ห้องประชุมวุฒิสภา อาคารรัฐสภา

ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาและร่วมอภิปรายสนับสนุน พร้อมมอบข้อสังเกตที่เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงาน โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบรับร่างพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ฉบับที่...) พ.ศ.... ด้วยจำนวนผู้ลงมติ 172 คน  เห็นชอบ 168  คน  ไม่เห็นชอบ 1  คน  งดออกเสียง  3  คน  และไม่ลงคะแนน  0  คน

 

ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ฉบับที่...) พ.ศ.....มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.วว. พ.ศ. 2522 ที่มีการใช้มากว่า 45 ปี  ได้แก่ 1.การแก้ไขวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของ วว. เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจและนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ 2.เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และส่งเสริมการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน โดยการพัฒนาประเทศจำเป็นต้องอาศัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

 

สำหรับสาระสำคัญของการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. ได้แก่  1) ปรับปรุงวัตถุประสงค์ของสถาบันวิจัยฯ ให้สามารถดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับผลงานวิจัย การพัฒนาบุคลากรวิจัย และการถ่ายทอดวิทยาการแก่ภาครัฐและเอกชน  2) รับค่าบำรุงและผลประโยชน์ตอบแทนจากการดำเนินงานของสถาบันวิจัยฯ  และ 3) ปรับปรุงรายได้ของสถาบันวิจัยฯ ให้ครอบคลุมถึงรายได้จากการให้กู้ยืมเงิน การลงทุน และดอกเบี้ยจากทรัพย์สินของสถาบันวิจัยฯ

 









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Ad