#สกสว. - #ววน. หนุน #PMUs สร้างระบบวิจัยและนวัตกรรมเข้มแข็งในกลุ่มอุดมศึกษา พร้อมเปิดวิสัยทัศน์หนุนกำลังคนศักยภาพในปีงบประมาณ 2569 - CyberAInews ข่าวธุรกิจ888

CyberAInews ข่าวธุรกิจ888

ข่าวเด่น ดารา บันเทิง ข่าวธุรกิจ เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีAi ข่าวธุรกิจ888 cyberainews by chokweekly chokcyberai

Post Top Ad

ข่าวเด่น-ดารา-บันเทิง-ข่าวธุรกิจ-เศรษฐกิจ-สังคม-เทคโนโลยีAi

13 ธันวาคม 2567

#สกสว. - #ววน. หนุน #PMUs สร้างระบบวิจัยและนวัตกรรมเข้มแข็งในกลุ่มอุดมศึกษา พร้อมเปิดวิสัยทัศน์หนุนกำลังคนศักยภาพในปีงบประมาณ 2569

 #สกสว. - #ววน. หนุน #PMUs สร้างระบบวิจัยและนวัตกรรมเข้มแข็งในกลุ่มอุดมศึกษา  พร้อมเปิดวิสัยทัศน์หนุนกำลังคนศักยภาพในปีงบประมาณ 2569 

กรุงเทพฯ 13 ธันวาคม 2567 #กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ กองทุน #ววน. โดย #สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ #สกสว. ร่วมกับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA และกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา โดยสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ สป.อว. เดินหน้าสร้างความเข้มแข็งการนำวิจัยไปใช้ประโยชน์ ผ่านหน่วยบริหารและจัดการทุน หรือ PMUs พร้อมมุ่งส่งเสริมกำลังคนที่มีศักยภาพในด้านวิจัย วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรมจากกลุ่มมหาวิทยาลัย ตลอดจนแนวทางการสร้างกำลังคนด้วยการจัดสรรงบประมาณในปี 2569 นอกจากนี้ ยังได้ร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเสวนาวิชาการ หัวข้อ “การขับเคลื่อนวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์” ภายในงาน “เปิดโลกนวัตกรรมพิบูลสงคราม พ.ศ.2567 (PSRU Innovation 2024)” ซึ่งเป็นการจัดแสดงผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมครั้งแรกของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม หนึ่งในหน่วยบริหารและจัดการทุน (PMUs)  

 

ศาสตราจารย์ ดร.วิษณุ มีอยู่ ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานคณะกรรมการวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กล่าวว่า ประเทศไทยมีแหล่งงบประมาณและกลไกการส่งเสริมการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์จากภาครัฐ คือ กองทุนส่งเสริม ววน. โดย สกสว. พร้อมด้วยหน่วยบริหารและจัดการทุน (PMUs) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญทั้งด้านนโยบายและด้านจัดสรรเงินงบประมาณเป็นทุนสำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ให้แก่หน่วยรับงบประมาณและนักวิจัย ผ่านวิสัยทัศน์ SRI for All โดยศาสตราจารย์ ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการ สกสว. ด้วยการนำองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา และการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์และพัฒนาประเทศจากเงินงบประมาณของกองทุนส่งเสริม ววน. ขับเคลื่อนด้วยกลยุทธ์ SILK  ที่ประกอบด้วย Synergy & Boundarylessช่วยผลักดันการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ Intelligent SRI system - การยกระดับระบบ SRI ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ให้รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และโปร่งใส Leap Technology Investment - มุ่งเน้นการลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีใหม่และการเป็นเจ้าของเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมเป้าหมายและสร้าง New S-Curve Knowledge Governance - มีระบบแพลตฟอร์มเพื่อนำความรู้ของ ววน. ไปใช้ในแต่ละภาคสำหรับทุกคน 






 

สกสว. มุ่งส่งเสริมและเป็นส่วนสนับสนุนสำคัญให้กับหน่วยรับงบประมาณและนักวิจัยด้วยกลยุทธ์ SILK โดยฉายภาพเส้นทางวิจัยสู่การนำไปใช้ประโยชน์จากตัวอย่างนวัตกรรม ซึ่งเป็นผลงานวิจัยที่ได้รับการจัดสรรทุนจากกองทุน ววน. เช่น นวัตกรรมกระดูกเทียมไทเทเนียม (ผศ.ดร.เชษฐา พันธ์เครือบุตร บริษัท เมติคูลี่ จำกัด) นวัตกรรมโพรไบโอติก (รศ.ดร.มาลัย ทวีโชติภัทร์-มศว.) การถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาการย้อมผ้าสีครั่งที่พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากในจังหวัดลำปาง (ดร.ขวัญนภา สุขคร-ม.สวนดุสิต) และนวัตกรรมชุดตรวจวัดค่าดัชนีน้ำตาลอย่างง่าย (ศ.ดร.คงศักดิ์ ศรีแก้ว-มรภ.พิบูลสงคราม) รวมถึงนวัตกรรมทางสังคม “Ready Senior” ที่พร้อมรับสังคมสูงวัย (ผศ.ดร.ดวงใจ หล่อธนวณิชย์-ม.ธรรมศาสตร์) เป็นต้น

ศาสตราจารย์ ดร.วิษณุ ยังชี้ให้เห็นว่า พรบ.ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ.2564  (TRIUP Act) เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการสร้างโอกาสสิทธิความเป็นเจ้าของและการแบ่งปันผลประโยชน์จากผลงานวิจัยและนวัตกรรม ซึ่งเป็นระบบนิเวศที่หน่วยขับเคลื่อนนโยบายได้สร้างไว้ให้นักวิจัย พร้อมทั้งได้แนะนำให้ผู้วิจัยและนักศึกษาพิจารณาความสำคัญของการดูความต้องการของประเทศและความต้องการของตลาดเป็นปลายทางสำคัญของการพัฒนาโจทย์วิจัย เพื่อให้งานวิจัยเกิดมูลค่าสูงสุดและได้รับการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง เกิดผลกระทบทั้งทางเศรษฐกิจและทางสังคมให้กับประเทศไทย

ดร.สุทธิรักษ์ ดวงบุรงค์ นักพัฒนานวัตกรรมอาวุโส/ผู้จัดการโครงการนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวว่า ความท้าทายของมหาวิทยาลัยราชภัฏต่อการผลักดันงานวิจัยชุมชนไปสู่การยกระดับเป็นสตาร์ทอัพ ซึ่งสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติทำหน้าที่เป็นตัวประสานกลไก สร้างการเชื่อมโยงและความร่วมมือต่าง ๆ ให้แก่โครงการวิจัย โดยมีกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) ให้แก่นักศึกษาทุกระดับในสถาบันอุดมศึกษาให้สามารถทำธุรกิจบนฐานองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม และช่วยผลักดันการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ รวมถึงแนะนำนักวิจัยและนักศึกษาให้เห็นความสำคัญของการสร้างมูลค่าจากการมีเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง เพื่อช่วยกันขับเคลื่อนประเทศไทย

ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ สป.อว. กล่าวว่า สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษากลุ่ม 2 มหาวิทยาลัยด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมนั้น แนะนำให้คณาจารย์และนักศึกษารู้จักกับ “กลไกการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (Higher education sandbox)” ของ สป.อว. เพื่อใช้เป็นกลไกการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรการเรียนเพื่อพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงอย่างเร่งด่วน ให้บัณฑิตที่จบการศึกษาออกมามีความรู้และทักษะที่สามารถทำงานได้ทันที และตอบสนองความต้องการและนโยบายของประเทศ เช่น ความต้องการทางตลาดด้านเซมิคอนดักเตอร์ รถพลังงานไฟฟ้า (EV) และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งเป็นนโยบายการพัฒนากำลังคนของกระทรวง อว. ในปัจจุบัน เป็นต้น โดยแนะนำให้มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามใช้กลไกดังกล่าวเพื่อสร้างนักศึกษาให้เป็นนักนวัตกรรม รวมถึงการสร้าง “หลักสูตรการเรียนรู้สู่การปฏิบัติจริง (Exponential Learning)” และสร้างความร่วมมือระหว่างบุคลากรด้านการวิจัยในเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา อาทิ การแลกเปลี่ยนบุคลากรทำงานวิจัย เพื่อเติมเต็มช่องว่างการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ให้แก่บุคลากรทุกคนในสถาบัน ตั้งแต่นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม

ในอนาคต ปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 กองทุนเพื่อการพัฒนาการอุดมศึกษา โดย สป.อว. มีบทบาทด้านการพัฒนากำลังคน จะเริ่มจัดสรรงบประมาณการพัฒนาความเป็นเลิศด้านกำลังคนในการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อมุ่งพัฒนานักศึกษาไทยให้เป็นผู้ประกอบการในเวทีระดับโลก อาทิ ด้านปัญญาประดิษฐ์ ด้านการเกษตร ด้านเครื่องสำอางและความงาม และด้านพาณิชย์ ฯลฯ รวมถึงช่วยแก้ไขปัญหาของนักวิจัยและเจ้าหน้าที่สายงานสนับสนุนของสถาบันการศึกษาที่ผลิตองค์ความรู้ได้จำนวนมาก แต่ยังไปไม่ถึงขั้นการขยายผลเชิงพาณิชย์ ด้วยการสร้างความเข้มแข็งในการจัดการกับทรัพย์สินทางปัญญาในสถาบันอุดมศึกษาให้เอื้อต่อการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมของสถาบันอุดมศึกษาไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์และสังคม

 

 

ทั้งนี้ การเสวนาวิชาการผสานความร่วมมือระหว่างกองทุนทั้งสองข้างต้น จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยพัฒนากำลังคนด้านผู้ประกอบและสร้างนักนวัตกรรมในอนาคต รวมทั้งเติมเต็มช่องว่างเพื่อแก้ไขปัญหาของนักวิจัยและเจ้าหน้าที่สายงานสนับสนุนของสถาบันการศึกษาที่ผลิตองค์ความรู้ได้จำนวนมาก แต่ยังไปไม่ถึงขั้นการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์และเชิงสังคม ซึ่งระบบนิเวศด้านการวิจัยที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ที่จะทำให้ไทยก้าวข้ามจากการเป็นประเทศรายได้ปานกลาง นอกเหนือจากศักยภาพอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการที่เป็นรายได้สำคัญของประเทศแล้ว ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมบนฐานทุนเทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นตัวช่วยสำคัญในปัจจุบัน ซึ่งประเทศไทยควรมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นของตัวเองอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Ad