#สกสว. ระดม 100 ผู้เชี่ยวชาญร่วมกำหนดประเด็นวิจัยรับมือภัยพิบัติอาเซียน พร้อมปลุกความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างสหราชอาณาจักร ไทย และประเทศในภูมิภาค - CyberAInews ข่าวธุรกิจ888

CyberAInews ข่าวธุรกิจ888

ข่าวเด่น ดารา บันเทิง ข่าวธุรกิจ เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีAi ข่าวธุรกิจ888 cyberainews by chokweekly chokcyberai

Facebook CyberAi news

Post Top Ad

24 มกราคม 2568

#สกสว. ระดม 100 ผู้เชี่ยวชาญร่วมกำหนดประเด็นวิจัยรับมือภัยพิบัติอาเซียน พร้อมปลุกความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างสหราชอาณาจักร ไทย และประเทศในภูมิภาค

#สกสว. ระดม 100 ผู้เชี่ยวชาญร่วมกำหนดประเด็นวิจัยรับมือภัยพิบัติอาเซียน  พร้อมปลุกความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างสหราชอาณาจักร ไทย และประเทศในภูมิภาค 

กรุงเทพฯ 24 มกราคม 2568 #กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (#ววน.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (#สกสว.) ร่วมกับ #สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (#วช.) และภาคีเครือข่าย ในฐานะผู้กำหนดนโยบาย บริหารจัดการทุนวิจัย หน่วยงานปฏิบัติการ และนักวิชาการ ร่วมระดมความคิดเห็นเพื่อกำหนดประเด็นมุ่งเน้นการวิจัยในการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ (Disaster Risk Reduction, DRR) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการ “Scoping Future Research Priority for Disaster Risk Reduction (DRR) in the Global South โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุมกว่า 100 คน จากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย เวียดนาม อินโดนีเซีย และ ฟิลิปปินส์ 

 

รองศาสตราจารย์ ดร.นิรมล สุธรรมกิจ ผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจด้านสังคม สิ่งแวดล้อม เชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ สกสว. กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำวิจัยและการให้ทุนวิจัยเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อกำหนดประเด็นสำคัญและความท้าทายในอนาคต รวมถึงจัดลำดับความสำคัญของประเด็นวิจัยที่เกี่ยวกับ DRR รวมถึงกำหนดกรอบการจัดสรรทุนวิจัยของ UK Research and Innovation (UKRI) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสร้างเครือข่ายนักวิจัยระหว่างประเทศ โดยมีการกำหนดประเด็นวิจัยสำหรับการหารือร่วมกัน เพื่อนำไปสู่การจัดลำดับความสำคัญของโจทย์วิจัย ได้แก่ 1. การสร้างความเข้าใจและแนวคิดที่เกี่ยวกับการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ 2. การลดความเสี่ยงจากภัยที่เกี่ยวข้องกับด้านสังคม-เศรษฐกิจและวัฒนธรรม 3. ความสอดคล้องและศักยภาพของระบบป้องกันภัยพิบัติ 4. ความต่อเนื่องของนโยบายภาครัฐ การเงิน และภาคธุรกิจที่ส่งผลต่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ 5. เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง และ 6. แนวทางการแก้ไขปัญหาโดยใช้ธรรมชาติเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ 

 



ขณะที่ ผลในเชิงกำหนดนโยบายการวิจัยสำหรับประเทศไทยที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ ได้แก่ 1. การยกร่างกรอบการวิจัยการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ สำหรับกรณีตัวอย่างของประเทศไทย เช่น ลุ่มน้ำเจ้าพระยาและอ่าวไทย ซึ่งประสบอันตรายหลากรูปแบบ (Multi-hazards) ที่ส่งผลกระทบต่อภาคกลางที่เป็นเขตเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย (อาจรวมถึงลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่) โดยมีประเด็นวิจัยที่สำคัญ 3 ประการ คือ การแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการทางธรรมชาติ (Natural-based Solution) การจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติ เทคโนโลยี และนโยบายด้านการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ทั้งนี้ ผลลัพธ์ที่คาดหวังคือ การผลิตที่เป็นมิตรต่อภูมิอากาศ ภาคธุรกิจที่มีธรรมาภิบาลและคำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม และ ภาคประชาชนสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) ได้อย่างเหมาะสม 2. แนวทางความร่วมมือด้านการวิจัย ระหว่างสหราชอาณาจักร ไทย และประเทศในภูมิภาคอาเซียน สำนักงานเลขาธิการอาเซียน ผ่าน สกสว. หรือ วช. ในรูปแบบที่สอดคล้องกับพันธกิจ เป้าหมาย และบทบาทของ UKRI และ สกสว. วช. และหน่วยบริหารและจัดการทุน (PMU) ที่เกี่ยวข้องได้ต่อไป 3. การเรียนรู้บทเรียนการพยากรณ์ตัวแปรด้านอุตุนิยมวิทยา ระหว่าง ไทยและมาเลเซีย เช่น แบบจำลองพยากรณ์ฝน ภายใน 3 ชั่วโมง ถึง 14 วัน กับแบบจำลองพยากรณ์ฝนของหน่วยงานไทย เช่น สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.) และกรมอุตุนิยมวิทยา เป็นต้น 4. การเรียนรู้บทเรียนด้านการกระจายนโยบายและการดำเนินงานระดับจังหวัด ในการจัดการภัยพิบัติระหว่าง ไทย และเวียดนาม เช่น การบริหารจัดการน้ำระดับพื้นที่/จังหวัด/ลุ่มน้ำ เป็นต้น 5. การสร้างเครือข่ายนักวิจัย หน่วยงานให้ทุน หน่วยงานนโยบายงานวิจัยในหมู่ประเทศอาเซียน และสหราชอาณาจักร  

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Ad