สร้างแผนธุรกิจ เพื่อปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่ระบบดิจิทัล โดย แอนโทนี่ ลอย รองประธาน ฝ่ายที่ปรึกษาด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นสำหรับอุตสาหกรรม #ชไนเดอร์อิเล็คทริค - CyberAInews ข่าวธุรกิจ888

CyberAInews ข่าวธุรกิจ888

ข่าวเด่น ดารา บันเทิง ข่าวธุรกิจ เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีAi ข่าวธุรกิจ888 cyberainews by chokweekly chokcyberai

Facebook CyberAi news

Post Top Ad

17 มกราคม 2568

สร้างแผนธุรกิจ เพื่อปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่ระบบดิจิทัล โดย แอนโทนี่ ลอย รองประธาน ฝ่ายที่ปรึกษาด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นสำหรับอุตสาหกรรม #ชไนเดอร์อิเล็คทริค

 สร้างแผนธุรกิจ เพื่อปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่ระบบดิจิทัล โดย แอนโทนี่ ลอย รองประธาน ฝ่ายที่ปรึกษาด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นสำหรับอุตสาหกรรม #ชไนเดอร์อิเล็คทริค




ปัจจุบันแนวโน้มต่างๆ ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตยังคงเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง อย่างเรื่องการย้ายฐานการผลิตกลับประเทศ (reshoring)
เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับซัพพลายเชน การเติบโตของ AI และเทคโนโลยีสีเขียวใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น
นอกจากนี้ยังต้องเผชิญกับวิกฤตด้านพลังงานกันอยู่เรื่อยๆ รวมถึงแรงกดดันในการดำเนินงานเพื่อสร้างความยั่งยืนมากขึ้น
ทำให้ผู้ผลิตไม่สามารถเลื่อนแผนงานในการสร้างความยั่งยืนได้อีกต่อไป อาทิ การปรับปรุงประสิทธิภาพด้านพลังงาน รวมถึงการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้
และการลงทุนในแหล่งพลังงานทดแทน แนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของตลาดเหล่านี้ ทำให้ช่องว่างทางดิจิทัลขยายกว้างขึ้น
ส่งผลให้การทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรมกลายเป็นเรื่องสำคัญยิ่งสำหรับธุรกิจ บริษัทที่เคยลงทุนในการปฏิรูปสู่ดิจิทัลมาก่อน
สามารถบริหารจัดการการทำงานจากระยะไกลได้ดีกว่า ในขณะที่บริษัทอื่นๆ ต่างกำลังเร่งปรับสู่ดิจิทัลเพื่อตามให้ทัน
ทำให้การทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัลกลายเป็นสิ่งสำคัญมากขึ้นสำหรับธุรกิจ เพราะ “องค์กรเหล่านี้กำลังหาโซลูชั่นที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลมาใช้
รวมถึงปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานและผลการดำเนินธุรกิจ แม้การเข้าถึงข้อมูลจะเป็นเรื่องสำคัญมาโดยตลอด
แต่ปริมาณและความซับซ้อนในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโรงงานที่กระจายอยู่ในหลายพื้นที่และมีอุตสาหกรรมหลายประเภท”
วิจัยโดย OMDIA และ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค

อุปสรรคในการทรานส์ฟอร์ม

แม้การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่ประสบความสำเร็จ จะช่วยเพิ่มผลลัพธ์ทางธุรกิจ ให้ประสิทธิภาพด้านการใช้ทรัพยากร และให้คุณภาพที่ดีขึ้นก็ตาม 
แต่ยังมีอุปสรรคที่ขัดขวางความก้าวหน้าก่อนจะได้มาซึ่งผลลัพธ์เหล่านี้ ในหลายประเด็นด้วยกัน
  • ความเข้าใจในเทคโนโลยี
  • ต้นทุน ทั้งในส่วนของตัวเทคโนโลยีเองและการนำไปใช้งาน
  • การเลือกพันธมิตรจากภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญ
  • การได้รับการยอมรับและสนับสนุนจากทั้งองค์กร

เข้าใจถึงลำดับความสำคัญทางธุรกิจ 
 
ทุกอย่างเริ่มต้นด้วยแผนงาน ในการพัฒนากลยุทธ์การทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัล
ผู้ใช้งานควรต้องระบุให้ได้ว่าโครงการนั้นนำด้วยอะไร การดำเนินงานหรือเทคโนโลยี จากนั้นค่อยมองหาพันธมิตรที่เหมาะสม
และพัฒนาแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนว่าตัวเอง (หรือระบบนิเวศของพันธมิตร) จะสามารถตอบสนองความต้องการทางธุรกิจของผู้ผลิตด้วยโซลูชั่นเทคโนโลยีอย่างไร
ผู้นำต้องกำหนดความต้องการที่เร่งด่วนที่สุดขององค์กรและมุ่งเน้นที่การแก้ไขปัญหาทางธุรกิจให้ตรงจุดก่อนเป็นอันดับแรก
ก่อนที่จะพิจารณาเทคโนโลยีที่เหมาะสมจากนั้นจึงเริ่มเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากกระบวนการแยกแต่ละส่วน
เพื่อสร้างความยืดหยุ่น สร้างผลผลิตที่ดี และลดการปล่อยมลพิษ

สร้างทีมเพื่อเป็นผู้นำและดูแลการทรานส์ฟอร์ม 
 
ในโลกแบบไฮบริดทุกวันนี้ แต่ละแผนกในองค์กรมักไม่ค่อยเข้าใจความท้าทายของแผนกอื่นๆ
การทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรมที่ประสบความสำเร็จนั้นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างแผนก (เช่น แผนก IT, แผนกปฏิบัติการ,
ผู้บริหารระดับสูง, และฝ่ายทรัพยากรบุคคล) การสื่อสารที่ชัดเจน การฝึกอบรมและการให้การสนับสนุน

มีความสำคัญอย่างยิ่งในการเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นให้แก่พนักงานและต้องเชื่อมั่นในเทคโนโลยีใหม่ๆ
‘คน’ สำคัญกว่าเทคโนโลยี ซึ่งทีมงานต้องมีความเชื่อมั่นและมุ่งมั่นในการใช้โซลูชั่นดิจิทัล แม้ว่าผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI)
ในช่วงแรกอาจจะยังไม่สูงนัก แต่เมื่อเวลาผ่านไป และมีประสบการณ์มากขึ้น การทรานส์ฟอร์มจะมีประสิทธิภาพและสร้างนวัตกรรมได้มากขึ้น
ส่งผลให้ได้รับผลตอบแทนที่เร็วขึ้น

ปัจจัยความสำเร็จที่เหนือกว่า ROI

โครงการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัลหลายโครงการอาจเกิดขึ้นพร้อมกันในช่วงเวลาใดก็ได้ คุณสามารถติดตาม จัดการ และสื่อสารผลลัพธ์ของแต่ละโครงการได้อย่างชัดเจน
โดยให้ความสำคัญกับตัวชี้วัดด้านการปฏิบัติงานสองหรือสามประการ เช่น จำนวนสินทรัพย์ที่เชื่อมต่อกัน หรือจำนวนผู้ที่ผู้ใช้งานสม่ำเสมอ
ตัวชี้วัดทางการเงินก็มีความสำคัญ แต่ต้องพิจารณาผลกระทบเชิงคุณภาพด้วยเช่นกัน โครงการต่างๆ
สามารถส่งผลกระทบต่อความยั่งยืน ความยืดหยุ่นและความปลอดภัยทางไซเบอร์ของคุณ ในรูปแบบต่างๆ ดังต่อไปนี้
  • เพิ่มความสามารถในการมองเห็นที่มากขึ้น
  • ต้นทุนด้านไอที
  • ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ไม่ได้รับการอนุมัติจากองค์กร
  • การบริหารจัดการระบบเดิม
  • การยกระดับทักษะของพนักงาน (เพื่อดึงดูดบุคลากรใหม่)

ตัวชี้วัดที่ชัดเจนและเรียบง่าย จะช่วยให้องค์กรของคุณติดตามต้นทุนและข้อมูลต่างๆ เพื่อให้เข้าใจความก้าวหน้าของงานได้อย่างเต็มที่

พิจารณาทิศทางและการสนับสนุนจากภายนอก

โครงการดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นสำหรับอุตสาหกรรมที่ประสบความสำเร็จมักเน้นการปรับปรุงประสิทธิภาพทีละน้อย
และมอบผลประโยชน์ที่ต่อยอดห่วงโซ่คุณค่าโดยรวม ผู้นำควรหลีกเลี่ยงการปรับปรุงง่ายๆ เพียงเพื่อผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI)
หรือการยึดติดกับกรอบเวลาที่เข้มงวดเกินไป แนะนำให้ใช้แนวทางแบบ 'แพลตฟอร์ม' ซึ่งเริ่มจากขนาดเล็กและขยายเพิ่มเติมได้
พร้อมกับการทำซ้ำอย่างต่อเนื่อง ให้การสนับสนุน และให้ความยืดหยุ่น แม้ว่าบริษัทจะเข้าใจการดำเนินงานในองค์กร
แต่บ่อยครั้งขาดมุมมองจากภายนอกในเรื่องของศักยภาพ การสร้างแผนธุรกิจต้องมีการแลกเปลี่ยนระหว่างหน่วยงานภายในองค์กร
และความร่วมมือกับผู้จำหน่าย การเปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานในอดีตและมาตรฐานอุตสาหกรรมเป็นหนึ่งในขั้
นตอนของการเดินทางสู่การเปลี่ยนแปลง ที่ปรึกษาสามารถให้มาตรฐานและโมเดลการปฏิบัติงานที่มีประโยชน์
ซึ่งช่วยเปลี่ยนความก้าวหน้า ให้กลายเป็นการประหยัดเงินได้

การร่วมมือกับพันธมิตรและผู้จำหน่ายที่ให้แผนงานที่ชัดเจนและสอดคล้องกับเป้าหมายเฉพาะของการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัลในอุตสาหกรรม
เป็นสิ่งสำคัญ นี่คือวิธีการเริ่มต้นในการสร้างแผนธุรกิจ เพื่อให้การทรานส์ฟอร์มประสบความสำเร็จ และช่วยลดความเสี่ยง
หากต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการเริ่มต้นกับกลยุทธ์ของคุณสามารถดาวน์โหลดเอกสารไวท์เปเปอร์ของเราเรื่อง
'การเปลี่ยนแปลงดิจิทัลในอุตสาหกรรม—มุมมองเกี่ยวกับกลยุทธ์ความสำเร็จและความท้าทายที่พบบ่อย’

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Ad