#เอบีมคอนซัลติ้ง เผยปัจจัยหลักเน้นย้ำความสำคัญ ของการบริหารจัดการ #ROIC ต่อการเพิ่มมูลค่าองค์กร
(กรุงเทพฯ ประเทศไทย) บริษัทเอบีม คอนซัลติ้ง จำกัด ได้ทำการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับการบริหารจัดการเพื่อเพิ่ม ROIC (Return on Invested Capital) หรือ ROIC Management โดยสำรวจข้อมูลและความคิดเห็นจากผู้บริหารจำนวน 721 ท่านจากบริษัทในประเทศญี่ปุ่นที่มียอดขายตั้งแต่สามหมื่นล้านเยนขึ้นไป (ราว 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ผู้บริหารที่ตอบแบบสำรวจครอบคลุมผู้ที่มีความรับผิดชอบในหน้าที่หลากหลายด้านด้วยกัน เช่น
การวางแผนกลยุทธ์องค์กร การบัญชี การเงิน และนักลงทุนสัมพันธ์ การสำรวจครั้งนี้ช่วยให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับการบริหารจัดการ ROIC รวมถึงบทบาทของการทรานส์ฟอร์มองค์กรในประเทศญี่ปุ่น และยังเผยให้เห็นถึงความเชื่อมโยงที่สำคัญระหว่างการบริหารจัดการ ROIC และผลลัพธ์ในการเพิ่มมูลค่าให้องค์กร
ผลการสำรวจชี้ให้เห็นว่าบริษัทในระดับ “บลูชิพ” ซึ่งหมายถึงบริษัทที่มีอัตราส่วนมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น (price-to-book หรือ P/B ratio) ตั้งแต่ 1.3 ขึ้นไป และมีประสบการณ์ในการจำหน่ายหน่วยธุรกิจ (BU) ออกจาก Portfolio มีแนวโน้มที่จะใช้ ROIC และตัวชี้วัดการเติบโตแบบต่าง ๆ เช่น อัตราการเติบโตของยอดขายและการเติบโตของมูลค่าตลาด ในการประเมินและตัดสินใจทางธุรกิจ ส่งผลให้สามารถปรับเปลี่ยน Portfolio รวมถึงการถอนตัวจากธุรกิจที่ไม่สร้างคุณค่า นอกจากนี้ มูลค่าของสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน (Intangible Asset) เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา ทรัพยากรบุคคล และเทคโนโลยีดิจิทัล ยังถูกนำมาประกอบการพิจารณาในการจัดการและประเมิน Business Portfolio ขององค์กรอีกด้วย
ผลสำรวจแสดงให้เห็นว่า ในความพยายามที่จะเพิ่มค่า ROIC พบว่า 64.6% ของบริษัทในกลุ่มบลูชิพมีการตั้ง KPI เฉพาะสำหรับแต่ละหน่วยธุรกิจอย่างชัดเจน พร้อมระบุผู้ที่รับผิดชอบแต่ละ KPI และมีการประเมินผลตามผลงานที่เกิดขึ้นจริง ในทางกลับกัน บริษัทที่อยู่ในกลุ่ม “ควรปรับปรุง” (หมายถึงบริษัทที่มี P/B ratio ต่ำกว่า 1.3 และไม่มีประวัติการถอนหรือจำหน่ายหน่วยธุรกิจ) มีเพียง 6.4% เท่านั้นที่ดำเนินการในลักษณะเดียวกันดังนั้นจึงเห็นได้ว่ามีความแตกต่างอยู่ถึงเกือบสิบเท่าระหว่างบริษัทสองกลุ่มบริษัทที่เข้าร่วมการสำรวจในด้านแนวทางการตั้งและบริหาร KPI
ในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานข้อมูล (Data Infrastructure) พบว่า กว่าครึ่งของบริษัทในกลุ่มบลูชิพหรือร้อยละ 52.2% สามารถพัฒนากระบวนการจัดการและสื่อสารข้อมูลในบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพียงพอต่อความต้องการ ในขณะที่กลุ่ม “ควรปรับปรุง” มีเพียง 16.7% เท่านั้นที่ดำเนินการได้ในระดับเดียวกัน นอกจากนี้ ราวครึ่งหนึ่งของบริษัทในกลุ่มบลูชิพหรือ 46.4% ได้จัดตั้งระบบและทีมงานเฉพาะทางที่สนับสนุนการบริหารจัดการและวิเคราะห์ เช่น FP&A (Financial Planning and Analysis) ที่มีบทบาทสำคัญในการวางแผนงบประมาณและวิเคราะห์การเงิน และ BICC (Business Intelligence Competency Center) ที่เป็นศูนย์กลางในการเพิ่มขีดความสามารถด้านข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ
ในทางตรงกันข้าม บริษัทในกลุ่ม “ควรปรับปรุง” มีเพียง 5.9% เท่านั้นที่ดำเนินการในลักษณะเดียวกันดังนั้น จึงสามารถกล่าวได้ว่ากุญแจสำคัญในการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน คือการกำหนดทิศทางที่สอดคล้องกันระหว่าง สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน (Intangible asset) เช่น ทรัพยากรมนุษย์ ทรัพย์สินทางปัญญา และ
Digital Portfolio กับกลยุทธ์ของหน่วยธุรกิจ รวมถึงการทำความเข้าใจอย่างชัดเจนว่าทรัพยากรเหล่านี้ส่งผลต่อผลประกอบการขององค์กรอย่างไร ทั้งนี้ ผลสำรวจพบว่า คะแนนในด้านนี้ของบริษัทกลุ่มบลูชิพ และบริษัทกลุ่มควรปรับปรุงมีความแตกต่างกันถึง 30%
จากประสบการณ์อันยาวนานของบริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง พบว่ามีปัจจัยสำคัญ 4 ประการซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้การบริหารจัดการ ROIC สามารถขับเคลื่อนการเพิ่มมูลค่าขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่:
1. การใช้ตัวชี้วัดจากหลากหลายมิติ ทั้งข้อมูลเชิงรูปธรรมและนามธรรมมาใช้เพื่อพิจารณาและปรับปรุง Portfolio
ข้อมูลเชิงรูปธรรม เช่น ROIC และตัวเลขชี้วัดการเติบโตของมูลค่าตลาด รวมถึงข้อมูลเชิงนามธรรมอย่างทรัพย์สินทางปัญญา ทรัพยากรมนุษย์ และศักยภาพด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ต่างมีความสำคัญเทียบเท่ากันในการวิเคราะห์และบริหาร Portfolio ขององค์กร การพิจารณาข้อมูลเหล่านี้ประกอบกันอย่างรอบด้าน นอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงจากความผิดพลาดที่พบได้บ่อย เช่น การปรับลดงบประมาณอย่างไม่สมเหตุสมผลอันเกิดจากมุมมองระยะสั้น ยังสามารถช่วยสนับสนุนให้บริษัทวางแผนการเติบโตในระยะยาวได้อย่างยั่งยืน
2. การสร้างระบบ PDCA ที่สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของธุรกิจควบคู่ไปกับ KPI ที่เสริมกัน
การสร้างกระบวนการ PDCA (Plan-Do-Check-Act) ในองค์กรให้ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ละบริษัทจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงลักษณะเฉพาะของแต่ละธุรกิจเป็นสำคัญ นอกจากนี้การเชื่อมโยง KPI กับการประเมินผลการดำเนินงาน และผลการปฏิบัติงานอย่างชัดเจน จะช่วยให้ การบริหารจัดการ ROIC กลายเป็นกระบวนการมาตรฐานที่ถูกบูรณาการเข้ากับการปฏิบัติงานประจำวันของหน่วยงานต่าง ๆ ได้อย่างสมบูรณ์ขึ้น
3. การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูล (Data Infrastructure) และฟังก์ชันสนับสนุนที่จำเป็นอย่างต่อเนื่อง
การสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูล (Data Infrastructure) ที่มีความมั่นคงพร้อมทั้งพัฒนาระบบและมีทีมงานที่เชี่ยวชาญในการบริหารจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลโดยเฉพาะ เช่น FP&A (Financial Planning and Analysis) สำหรับการวางแผนงบประมาณธุรกิจและการวิเคราะห์ทางการเงิน และ BICC (Business Intelligence Competency Center) เพื่อเป็นศูนย์กลางการสร้างเสริมสมรรถนะธุรกิจถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการบริหารจัดการ ROIC ให้ประสบผลสำเร็จ การปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างเหล่านี้ช่วยเสริมความสามารถในการ
บูรณาการฐานข้อมูล เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจที่ใช้ข้อมูลเป็นฐาน ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทั้งภายในระดับหน่วยงานและองค์กรโดยรวม
4. การลงทุนเพื่อเพิ่มพูนทรัพยากรที่เป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน (Intangible Asset) และประเมินผลที่มีต่อผลการดำเนินการทางธุรกิจให้ชัดเจน
การลงทุนสร้างสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน (Intangible Asset) เช่น ทรัพยากรมนุษย์ ทรัพย์สินทางปัญญา และ Portfolio ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ควรถูกวางให้สอดคล้องและส่งเสริม
กลยุทธ์ทางธุรกิจที่มุ่งเน้นการขับเคลื่อนการเติบโตขององค์กรในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้น การประเมินและวิเคราะห์อย่างโปร่งใสว่าทรัพยากรดังกล่าวมีผลทางธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรมได้อย่างไร มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างความเข้าใจร่วมกันกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) และช่วยเสริมสร้างความมั่นใจในกลยุทธ์ ทิศทางการเติบโตขององค์กร และความคาดหวังเชิงบวกต่อการพัฒนาขององค์กรในอนาคตอย่างยั่งยืนอีกด้วย
จากการสำรวจที่เราได้จัดทำขึ้น เอบีม คอนซัลติ้ง มีความพร้อมเป็นอย่างยิ่งที่จะสนับสนุนให้องค์กรต่าง ๆ สร้างความเปลี่ยนแปลงเพื่อก้าวไปสู่วิสัยทัศน์ที่ต้องการผ่านบริการ “Evolving ROIC Management Implementation Support Service” ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของเราที่ครอบคลุมความต้องการหลากหลายด้านที่จำเป็นต่อการบริหารจัดการ ROIC อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการวิเคราะห์เพื่อค้นหา Business Portfolio ที่เหมาะสมที่สุด ผ่านการผสานข้อมูลชี้วัดการเติบโตทางธุรกิจ และมูลค่าของทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตน (Intangible Asset) การตั้งและปรับปรุง KPI ที่ชัดเจนและสอดคล้องกับลักษณะธุรกิจ ประกอบกับการสนับสนุนการประเมินผลที่ยึดพื้นฐานของผลงานจริง
เอบีม คอนซัลติ้ง มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดการข้อมูลและระบบงาน รวมไปถึงการจัดตั้งทีมที่มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ เช่น FP&A (Financial Planning and Analysis) และ BICC (Business Intelligence Competency Center) ไปจนถึงการสนับสนุนการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการข้อมูล และการดำเนินงานขององค์กร เราให้ความสำคัญกับการเสริมความแข็งแกร่งให้กับระบบบริหารการจัดการ และการลงทุนที่มีความสอดคล้องกันในภาพรวมเพื่อการเติบโตที่ยั่งยืนโดยคำนึงถึงความเหมาะสมกับความต้องการเฉพาะของแต่ละองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญาหรือทรัพยากรดิจิทัล ไปจนถึงการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ นอกจากนี้ บริการด้าน Digital ESG ของเรายังสามารถสนับสนุนกระบวนการ Visualization หรือการนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นรูปธรรมและเข้าใจง่าย โดยเฉพาะสำหรับข้อมูลประกอบอื่น ๆ (Non-financial Information) ซึ่งนับเป็นส่วนสำคัญสำหรับรายงานในรูปแบบ Integrated Report และการดำเนินงานด้านนักลงทุนสัมพันธ์ (Investor Relations) เพื่อสื่อสารเป้าหมายการเติบโตทั้งต่อนักลงทุน และผู้ที่มีส่วนได้เสียอื่น ๆ ในองค์กร
##
เกี่ยวกับบริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด เป็นบริษัทในเครือบริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง จำกัด โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีทีมงานกว่า 8,300 คน ที่ให้บริการลูกค้าทั่วภูมิภาคเอเชีย อเมริกา และยุโรป เปิดให้บริการที่ปรึกษาในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2548 ปัจจุบันบริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้บริการลูกค้าด้วยความเชี่ยวชาญในบริการที่หลากหลาย ตั้งแต่การให้คำปรึกษาด้านกลยุทธ์, BPR, IT, การจัดการและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, Outsourcing, การให้คำปรึกษาและบริการด้าน SAP, ESG และการบริการการจัดการด้าน IT เพื่อช่วยให้องค์กรต่าง ๆ บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ในฐานะพันธมิตรที่สร้างสรรค์ เพื่อช่วยขับเคลื่อนธุรกิจ อุตสาหกรรมและสังคมให้ก้าวสู่การเปลี่ยนแปลง
ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อทางอีเมลที่ thabmarketing@abeam.com หรือเข้าชมเว็บไซต์ของเราเพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.abeam.com/th/en
ได้ที่ https://www.abeam.com/th/en
ABeam Consulting unveils insights on crucial links between ROIC management and corporate value improvement
(Bangkok, Thailand) ABeam Consulting recently conducted an extensive survey on the evolving state of ROIC (Return on Invested Capital) management in Japanese companies. Drawing from companies with annual sales of ¥30 billion (approx. $200 million), 721 executives from various functions such as corporate planning, accounting, finance, and investor relations (IR) responded to the survey, generating insights on ROIC management and corporate transformation initiatives in Japan. In addition, it has shed some light on the link between ROIC management and corporate value improvement.
The key findings from the survey indicate that companies classed as “blue-chip companies” (those with a price-to-book or P/B ratio of at least 1.3 and an experience of business withdrawal) use ROIC and scale growth indicators (e.g., sales growth rate, market growth rate) as a basis for business evaluation, and appropriately withdraw or sell their businesses. In addition, they take into account intangible assets (e.g., intellectual property (IP), HR, digital technology) when assessing business portfolios.
It was also found that, in order to improve ROIC, 64.6% of blue-chip companies set individual KPIs that are effective for each business, as indicated by clarifications regarding departmental responsibility for each KPI and evaluate them based on performance. In contrast, this only applies to 6.4% of those classed as companies “with room for improvement” (P/B of less than 1.3 with no experience of business withdrawal). The results show a nearly 10-fold gap between the two types of companies surveyed.
In terms of infrastructure development, more than half (52.2%) of blue-chip companies have been able to develop and disseminate data management processes sufficiently, compared to 16.7% of those with room for improvement. In addition, about half (46.4%) of blue-chip companies have established specialized functions such as FP&A (Financial Planning and Analysis) and BICC (Business Intelligence Competency Center) dedicated to data-driven analysis and improvement. In contrast, the same applies to only 5.9% of companies with room for improvement. Consequently, the key to fostering growth is the alignment of intangible assets (such as human resources, intellectual property, and digital portfolio) linked to business strategy and an appropriate evaluation of business contribution. A difference of 30 percentage points can be observed between the blue chips and companies with room for improvement.
From ABeam’s extensive experiences, four key aspects are essential to ensure ROIC management contributes effectively to corporate value enhancement:
1. Reflecting Growth Indicators and Intangible Asset Value in Business Portfolios
Growth indicators such as ROIC and market growth rate, alongside the value of intangible assets like intellectual property, human resources, and digital technology, should be integrated into business portfolio evaluations. This holistic approach helps companies avoid common pitfalls like short-term focus or excessive austerity, laying the groundwork for sustainable, long-term growth.
2. Establishing On-Site PDCA Systems with Tailored KPIs
To achieve effective on-site PDCA (Plan-Do-Check-Act) cycles, it is critical to set KPIs that reflect the unique characteristics of each business. By linking these KPIs to performance evaluations and clarifying departmental responsibilities, companies can embed ROIC management practices more deeply within business divisions and enhance operational alignment.
3. Continuous Development of Data Infrastructure and Specialized Functions
Developing robust data systems and establishing specialized functions, such as FP&A (Financial Planning and Analysis) and BICC (Business Intelligence Competency Center), are vital for efficient ROIC utilization. These enhancements enable seamless data integration, informed decision-making, and stronger governance across internal and group operations.
4. Strengthening Investments in Intangible Assets and Evaluating Business Contributions
Investments in intangible assets—including human resources, intellectual property, and digital portfolios—should align with business strategies to drive growth. Consistently assessing and transparently disclosing the contributions of these assets not only fosters understanding among stakeholders but also helps cultivate growth expectations and confidence in the company’s future direction.
Based on the insights from this survey, ABeam Consulting is uniquely equipped to support the realization of corporate transformation using our approach through the "Evolving ROIC Management Implementation Support Service." Our expertise covers a wide array of support, including optimization of business portfolios using incorporation of scale growth indicators and valuation of intangible assets, KPIs setting, and promoting performance-linked evaluations.
ABeam Consulting can also help implement data management, including the establishment of specialized functions such as FP&A and BICC, and measures to strengthen governance and integrate investment for corporate growth according to the company’s specific needs, such as building IP and digital portfolios and human capital management. Our Digital ESG Service also helps with the visualization of non-financial information through disclosure support in integrated reports and IR, promoting growth expectations among investors and other stakeholders.
##
About ABeam Consulting (Thailand) Ltd.
ABeam Consulting (Thailand) Ltd. is a subsidiary of ABeam Consulting Ltd. – headquartered in Tokyo, with roughly 8,300 richly professional, experienced consultants who have served clients throughout Asia, the Americas, and Europe, providing consulting services in Thailand since 2005. ABeam Consulting (Thailand) with expertise in a wide range of consulting services, including strategy, BPR, IT, Human Capital Management, Outsourcing, SAP Consulting, ESG, and Operational service expertise. We create the future together with corporations and other organizations. As a creative partner leading the way reliably through change, we contribute to industrial and societal change.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น