#เอบีมคอนซัลติ้ง ชี้โอกาสลงทุนใน #ตลาดยาไทย พร้อมแนะกลยุทธ์รุกตลาดสำหรับผู้เล่นรายใหม่ - CyberAInews ข่าวธุรกิจ888

CyberAInews ข่าวธุรกิจ888

ข่าวเด่น ดารา บันเทิง ข่าวธุรกิจ เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีAi ข่าวธุรกิจ888 cyberainews by chokweekly chokcyberai

Facebook CyberAi news

Post Top Ad

27 มีนาคม 2568

#เอบีมคอนซัลติ้ง ชี้โอกาสลงทุนใน #ตลาดยาไทย พร้อมแนะกลยุทธ์รุกตลาดสำหรับผู้เล่นรายใหม่

#เอบีมคอนซัลติ้ง ชี้โอกาสลงทุนใน #ตลาดยาไทย  พร้อมแนะกลยุทธ์รุกตลาดสำหรับผู้เล่นรายใหม่ 

(กรุงเทพฯ, ประเทศไทย)#อุตสาหกรรมยา และ สุขภาพของไทยกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว จากแรงสนับสนุนของนโยบายภาครัฐ ความต้องการด้านสุขภาพที่เพิ่มขึ้น และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการแพทย์ อุตสาหกรรมด้านสุขภาพของไทยได้กลายเป็นหนึ่งในกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจสำคัญ สร้างโอกาสทางธุรกิจให้แก่นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ภาครัฐของไทยได้เดินหน้านโยบายเพื่อยกระดับการเข้าถึงบริการสุขภาพ ลดต้นทุนการรักษา และวางเป้าหมายให้ประเทศก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สอดคล้องกับแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในอุตสาหกรรมยาและการสุขภาพที่กำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ในรายงานจาก #เอบีมคอนซัลติ้งฯ ฉบับนี้ได้นำเสนอบทวิเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยาและสุขภาพ โดยเจาะปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตหลัก กลไกการสนับสนุนจากภาครัฐ โครงสร้างห่วงโซ่อุปทาน และแนวทางการเข้าสู่ตลาดของนักลงทุน โดยเฉพาะบทบาทของบริษัทรับจ้างทำการขายหรือตัวแทนจำหน่ายและกระจายสินค้า (Contract Sales Organizations – CSOs) ซึ่งกำลังกลายเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับธุรกิจที่ต้องการปักธงในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสูงนี้


อุตสาหกรรมยาในประเทศไทยมีแนวโน้มขยายตัวสู่มูลค่า 6.92 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2025 โดยมีแรงผลักดันสำคัญจากนโยบายภาครัฐที่มุ่งสนับสนุนอุตสาหกรรมยาสามัญ (Generic Drug) และลดต้นทุนภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุข [รูปที่ 1]  รัฐบาลได้ริเริ่มส่งเสริมการใช้ยาสามัญราคาประหยัดเพื่อลดต้นทุนด้านการรักษาพยาบาล  ตลอดจนเทคโนโลยีดิจิทัลด้านสุขภาพ อาทิ การแพทย์ทางไกล (Telemedicine) และร้านขายยาออนไลน์ (e-Pharmacy) ก็กำลังมีบทบาทสำคัญในการยกระดับการให้บริการสุขภาพของไทยให้มีประสิทธิภาพและเข้าถึงง่ายขึ้นทั่วประเทศ

 

รูปที่ 1 – ขนาดตลาดอุตสาหกรรมยาประเทศไทย

 

การเติบโตของอุตสาหกรรมยาไทยได้รับแรงหนุนจากทั้งฝั่งอุปสงค์และอุปทาน [รูปที่ 1]  สำหรับด้านอุปสงค์ ประเทศไทยกำลังเปลี่ยนผ่านสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยในปี 2566 ที่ผ่านมา ประชากรไทยที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปมีจะสัดส่วนอยู่ที่ 13.07% ของประชากรทั้งหมด [รูปที่ 2]  ขณะเดียวกัน ประเทศไทยยังเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามารับบริการทางการแพทย์กว่า 2.86 ล้านครั้งในปีเดียวกัน และคาดว่าจะเติบโตเฉลี่ย 5.27% ต่อปี ซึ่งหมายถึงโอกาสสำหรับนักลงทุนรายใหม่ที่จะมุ่งเน้นไปยังการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับโรคเรื้อรังหรือโรคยอดนิยมต่างๆ ที่นักท่องเที่ยวจากต่างชาติมักนิยมเดินทางเข้ามารับการรักษาในไทย

 

รูปที่ 2 – ปัจจัยขับเคลื่อนอุปสงค์ด้านการดูแลสุขภาพของประเทศไทย

 

ในด้านอุปทาน ประเทศไทยมีห่วงโซ่อุปทานด้านสาธารณสุขที่แข็งแกร่ง ครอบคลุมตั้งแต่ผู้ผลิตยาและอุปกรณ์การแพทย์ระดับนานาชาติ ผู้ผลิตภาครัฐ ผู้ค้าส่ง และบริษัทตัวแทนจำหน่าย โครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งนี้มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมยาและสุขภาพของไทย พร้อมทั้งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศในฐานะจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์อีกด้วย นอกจากนี้ ระบบดังกล่าวยังเอื้อให้ผู้เล่นรายใหม่สามารถเข้าถึงเครือข่ายจัดจำหน่ายที่มีอยู่เดิม การสนับสนุนด้านกฎระเบียบ และกระบวนการทางการค้าที่ยืดหยุ่น ช่วยลดอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม หนึ่งในความท้าทายที่ไม่อาจมองข้าม คือการแข่งขันจากผู้ผลิตภาครัฐ ซึ่งสามารถผลิตและจำหน่ายยาชื่อสามัญที่เป็นที่ต้องการของตลาดในราคาที่ถูกกว่า อาจส่งผลให้บริษัทเอกชนที่มีผลิตภัณฑ์ใกล้เคียงกัน ต้องเผชิญกับข้อจำกัดในการทำตลาดและแข่งขันด้านราคาอย่างเข้มข้น

 

รูปที่ 3 – ปัจจัยขับเคลื่อนด้านอุปทานของอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพในประเทศไทย

 

นอกจากนี้ รัฐบาลไทยยังมีนโยบายส่งเสริมเพื่อดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูง และเสริมสร้างระบบนิเวศด้านสุขภาพภายในประเทศให้แข็งแกร่งขึ้น นโยบายเหล่านี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้ายาและเวชภัณฑ์ เพิ่มขีดความสามารถในการผลิตภายในประเทศ และผลักดันให้อุตสาหกรรมด้านสุขภาพไทยสามารถพึ่งพาตนเองได้ในระยะยาว  นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการลงทุนในสถานดูแลผู้สูงอายุและโรงพยาบาล รวมถึงนโยบายดึงดูดชาวต่างชาติอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปที่มีวีซ่าพำนักระยะยาวในประเทศไทย นโยบายเชิงกลยุทธ์เหล่านี้ถือเป็นบทบาทสำคัญในการวางรากฐานให้ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางด้านสุขภาพที่มีศักยภาพ ช่วยขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันก็ยังให้บริการทางการแพทย์คุณภาพสูงที่เข้าถึงได้สำหรับประชากรในประเทศได้ด้วย

 

รูปที่ 4 – การสนับสนุนจากรัฐบาลไทยต่ออุตสาหกรรมด้านสุขภาพ

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการควรประเมินทั้งอุปสงค์และการแข่งขันในตลาด โดยเฉพาะในบริบทของสังคมผู้สูงอายุของไทยที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว และเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันความต้องการด้านบริการสุขภาพและผลิตภัณฑ์ชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals) อย่างต่อเนื่อง ขณะที่ภาคค้าปลีกและตัวแทนจัดจำหน่ายกลับต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรง รัฐบาลไทยยังมีมาตรการจูงใจที่ช่วยสนับสนุนการลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนา ตลอดจนการผลิตภายในประเทศ ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ควรนำมาพิจารณา เพื่อกำหนดกลยุทธ์การเข้าสู่ตลาดที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย [รูปที่ 5]  

 

รูปที่ 5 – ประเภทของธุรกิจในอุตสาหกรรมยาของไทย

กลยุทธ์ในการเข้าสู่ตลาดของผู้เล่นรายใหม่นั้นมีความหลากหลาย ทั้งการจัดตั้งบริษัทย่อยที่ถือหุ้นทั้งหมดโดยบริษัทแม่ (Wholly Owned Subsidiary) การควบรวมและซื้อกิจการ (M&A) การร่วมทุน (Joint Venture) การสร้างพันธมิตร (Partnership) ระบบแฟรนไชส์ ตลอดจนการส่งออกสินค้า [รูปที่ 6]  ซึ่งบริษัทจะต้องคำนึงถึงประเด็นในด้านต่างๆ ประกอบด้วย อาทิ ต้นทุนการลงทุน ระดับการควบคุมกิจการ ความซับซ้อนของกฎระเบียบ การเข้าถึงตลาด ความเสี่ยงทางธุรกิจ และศักยภาพในการขยายกิจการในระยะยาว การเข้าสู่ตลาดโดยใข้การลงทุนที่สูงอาจช่วยให้บริษัทมีอำนาจควบคุมธุรกิจได้มากขึ้น ขณะที่การลงทุนที่ใช้ต้นทุนต่ำกว่า มักต้องอาศัยความร่วมมือกับพันธมิตรหรือบุคคลที่สาม ขณะที่ความเร็วในการเข้าถึงตลาดยังขึ้นอยู่กับว่าบริษัทจะสามารถสร้างหรือใช้ประโยชน์จากเครือข่ายที่มีอยู่เดิมในประเทศอย่างไร ซึ่งการที่นักลงทุนจะมั่นใจว่าการเติบโตในระยะยาวจะสอดคล้องกับกลยุทธ์ที่เลือกนั้น ยังต้องพิจารณาปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ อย่าง ความเสี่ยงทางการเงิน ปัญหาในห่วงโซ่อุปทาน และการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา (IP Protection) และความสามารถในการขยายกิจการอีกด้วย

 

 

รูปที่ 6 – กลยุทธ์การเข้าสู่ตลาด 

ตัวอย่างหนึ่งของกลยุทธ์การเข้าสู่ตลาดที่ได้รับความนิยมในกลุ่มบริษัทยา คือการจับมือเป็นพันธมิตรกับ บริษัทตัวแทนจำหน่ายหรือ CSO ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนงานด้านการขายและกระจายสินค้า ทำให้ CSO กลายเป็นตัวเลือกเชิงกลยุทธ์ที่น่าสนใจสำหรับบริษัทที่ต้องการเข้าสู่ตลาดไทย ที่ผ่านมามีบริษัทหลายรายที่เลือกใช้บริการของ CSO เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขายและเสริมความแข็งแกร่งในกระบวนการบริการหลังการขาย  ตลาด CSO ในประเทศไทยถือเป็นตลาดที่มีความพร้อมสูงและยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตต่อปีแบบทบต้น (Compound Annual Growth Rate: CAGR) เฉลี่ยที่ 6% ต่อปี และมีมูลค่าตลาดแตะ 75 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2030 [รูปที่ 7]  โดยมีผู้เล่นหลักในตลาดอย่างบริษัท DKSH และ Zuellig Pharma ซึ่งครองส่วนแบ่งหลักจากความได้เปรียบด้านทีมขายมืออาชีพ เครือข่ายที่ครอบคลุม และระบบโลจิสติกส์ที่แข็งแกร่ง อย่างไรก็ตาม ตลาดยังคงเปิดกว้างสำหรับผู้เล่นท้องถิ่น เช่น Biopharm และ Berlin Pharma ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะในผลิตภัณฑ์กลุ่มเฉพาะทาง (Niche Products) ซึ่งสามารถตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

รูปที่ 7ตลาดธุรกิจ CSO ในประเทศไทย

โดยสรุป อุตสาหกรรมยาและสุขภาพของประเทศไทยเป็นโอกาสทางธุรกิจที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนรายใหม่ๆ ด้วยแรงจูงใจจากนโยบายภาครัฐและตัวเลือกด้านการลงทุนต่างๆ ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการเข้าสู่ตลาดอยู่ที่การใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบและทรัพยากรเฉพาะตัวของประเทศไทยอย่างมีกลยุทธ์ ซึ่งสามารถทำได้โดยใช้ประโยชน์จากห่วงโซ่อุปทานที่เข้มแข็งของไทย การ Outsource ฟังก์ชันสำคัญบางส่วนผ่านบริษัทตัวแทนจำหน่าย ตลอดจนการต่อยอดจากกระแสการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และแนวโน้มของสังคมผู้สูงวัย  หากเราสามารถผสานกลยุทธ์เหล่านี้เข้ากับแผนดำเนินธุรกิจได้อย่างเหมาะสม ก็จะสามารถประสบความสำเร็จอย่างมั่นคงและยั่งยืนในอุตสาหกรรมด้านสุขภาพของไทยที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่องได้

 

 

###

 

 

เกี่ยวกับบริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด

บริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด เป็นบริษัทในเครือของ ABeam Consulting Ltd. ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยมีที่ปรึกษามืออาชีพมากกว่า 8,300 คน ให้บริการลูกค้าในหลากหลายอุตสาหกรรมทั่วเอเชีย อเมริกา และยุโรป เอบีม คอนซัลติ้ง เริ่มดำเนินธุรกิจในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 โดยมีความเชี่ยวชาญในงานที่ปรึกษาครอบคลุมหลายด้าน อาทิ กลยุทธ์องค์กร (Strategy), การปรับปรุงกระบวนการธุรกิจ (BPR), เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT), การบริหารทุนมนุษย์ (Human Capital Management), บริการเอาต์ซอร์ส (Outsourcing), ที่ปรึกษาด้าน SAP, ESG, และบริการด้านปฏิบัติการอื่น ๆ เราเชื่อในการสร้างอนาคตร่วมกับองค์กรและภาคธุรกิจในทุกระดับ โดยมุ่งมั่นเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ที่สามารถนำพาองค์กรผ่านการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมั่นคง พร้อมมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนทั้งภาคอุตสาหกรรมและสังคมให้เติบโตอย่างยั่งยืน

 

 

ABeam Consulting shares insight on Thailand’s pharmaceutical sectors’ opportunities, challenges, and entry approaches for New Entrants

 

 

 

(Bangkok, Thailand) – Thailand’s pharmaceutical and healthcare market is experiencing rapid growth fueled by government policies, increasing healthcare demand, and advancements in medical technology. The country's healthcare industry has emerged as a major economic driver, offering significant opportunities for both domestic and international investors. The Thai government has actively promoted policies to enhance healthcare accessibility, reduce costs, and establish the country as a medical hub in Southeast Asia as Thailand continues to expand its pharmaceutical and healthcare infrastructure. This whitepaper provides an analysis of Thailand’s pharmaceutical and healthcare market, exploring key growth drivers, government support mechanisms, supply chain dynamics, and entry options, including the role of Contract Sales Organizations (CSOs) for businesses looking to establish a foothold in this lucrative industry.

 

The Thai pharmaceutical market is expected to grow to 6.92 billion USD by 2025, supported by policies promoting generic drugs and cost reduction in healthcare [Fig. 1]. Government initiatives encourage the use of affordable generic drugs to reduce healthcare costs. Digital health technologies, such as telemedicine and e-pharmacies, are making healthcare more accessible and efficient.

 

Fig. 1 – Thailand Pharmaceutical Market Size

 

This growth is driven by both demand and supply within the country [Fig. 1]. For the demand side, Thailand is transitioning into an aged society, with 13.07% of the population aged 65+ by 2023 [Fig. 2]. Thailand is also a key medical tourism hub, with 2.86 million international patient visits in 2023, projected to grow at 5.27% CAGR. This means that it is beneficial for new investors to focus on promoting products that are catering towards chronic diseases or other popular diseases that tourists visit Thailand for.

 

Fig. 2 – Thailand Healthcare Demand Drivers

For the supply side, Thailand presents a well-established healthcare value chain comprising international pharmaceutical and medical device manufacturers, government manufacturers, wholesalers, and contract sales organizations. This robust infrastructure supports industry growth and strengthens Thailand’s appeal as a medical tourism destination. It also provides new players with ready access to established distribution networks, regulatory support, and streamlined commercialization pathways, reducing barriers to market entry. However, there is a potential threat from government manufacturers, which produce and sell high-demand generic drugs at low prices. This could limit market opportunities for private pharmaceutical companies, particularly those offering similar products.

Fig. 3 – Thailand Healthcare Supply Drivers

 

In Addition, the Thai government’s incentives are designed to attract high-value investments and strengthen the country’s healthcare ecosystem. These policies aim to reduce reliance on imports, enhance local manufacturing capabilities, and foster a self-sustaining healthcare industry. Additionally, by supporting senior care facilities and hospitals, the government is addressing the needs of an aging population while attracting wealthy foreigners aged 50 or over with long-term VISA permits. These strategic initiatives position Thailand as a competitive healthcare hub, driving economic growth while ensuring accessible, high-quality medical services for its population.

 


Fig. 4 – Thai Government Support for Healthcare Industry

With such an attractive market, foreign pharmaceutical companies entering Thailand must consider investment costs, as manufacturing and healthcare services require significant capital, while distribution and outsourcing offer lower-cost entry. Market demand and competition should be assessed, as Thailand’s aging population drives growth in healthcare and biopharmaceuticals, while retail and distribution face intense rivalry. Government incentives support R&D and manufacturing. Evaluating these factors ensures a strategic and successful market entry [Fig. 5].

 

Fig. 5 Types of Business in Thai Pharmaceutical Market

Companies have many market entry strategies, including establishing wholly owned subsidiaries, M&A, joint ventures, forming partnerships, franchising, and exporting [Fig. 6]. Companies must consider investment costs, control, regulatory complexity, market access, risk exposure, and scalability. Higher investment may grant greater control, while lower-cost options often involve reliance on partners or third parties. Market access speed depends on whether companies build networks or leverage existing ones. Risk factors include financial exposure, supply chain challenges, and IP protection. Lastly, scalability ensures long-term growth aligns with the chosen strategy.

 

Fig. 6 – Market Entry Strategy

As an example, one commonly used option for pharmaceutical companies to enter the market is through a partnership with a contract sales organization (CSO). CSOs typically provide services such as sales and distribution, making them a strategic choice for pharmaceutical companies entering the market. Various pharmaceutical companies partnered with CSO to help optimize sales and after-sales processes. The Thai CSO market is a well-established and growing market. It is projected to grow at 6% CAGR, reaching 75 million USD by 2030 [Fig. 7]. Players such as DKSH and Zuellig Pharma are dominating the market with strong sales teams, wide connections, and established logistics networks, but there are also local players such as Biopharm and Berlin Pharma that may specialize in niche products.

 

Fig. 7 – Thailand CSO Market

To wrap up, Thailand’s healthcare and pharmaceutical sector offers a lucrative and well-supported business environment for new entrants. Furthermore, there are various government incentives and investment options available. The key success factor in entering the Thai pharmaceutical market is strategically utilizing the existing benefits and resources unique to Thailand. This could possibly be done by utilizing a robust supply chain, outsourcing key functions through CSOs, and tapping into medical tourism and aging population trends; businesses can successfully establish a strong and sustainable presence in Thailand’s thriving healthcare market.

 

 

##

 

About ABeam Consulting (Thailand) Ltd.

ABeam Consulting (Thailand) Ltd. is a subsidiary of ABeam Consulting Ltd. – headquartered in Tokyo, with roughly 8,300 richly professional, experienced consultants who have served clients throughout Asia, the Americas, and Europe, providing consulting services in Thailand since 2005. ABeam Consulting (Thailand) with expertise in a wide range of consulting services, including strategy, BPR, IT, Human Capital Management, Outsourcing, SAP Consulting, ESG, and Operational service expertise. We create the future together with corporations and other organizations. As a creative partner leading the way reliably through change, we contribute to industrial and societal change. 

 

Please contact us at thabmarketing@abeam.com  or visit   https://www.abeam.com/th/en   for more details.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Ad