#มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการยาเสพติด (#CND) สมัยที่ 68 ร่วมผลักดันแนวทางพัฒนาทางเลือก เพื่อแก้ปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืนในระดับโลก - CyberAInews ข่าวธุรกิจ888

CyberAInews ข่าวธุรกิจ888

ข่าวเด่น ดารา บันเทิง ข่าวธุรกิจ เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีAi ข่าวธุรกิจ888 cyberainews by chokweekly chokcyberai

Post Top Ad

24 มีนาคม 2568

#มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการยาเสพติด (#CND) สมัยที่ 68 ร่วมผลักดันแนวทางพัฒนาทางเลือก เพื่อแก้ปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืนในระดับโลก

 #มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการยาเสพติด (#CND) สมัยที่ 68 ร่วมผลักดันแนวทางพัฒนาทางเลือก เพื่อแก้ปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืนในระดับโลก

#มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ นำโดย ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ ประธานกรรมการ
หม่อมหลวงดิศปนัดดา ดิศกุล เลขาธิการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พร้อมคณะผู้บริหารและทีมงาน ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะกรรมาธิการยาเสพติด (Commission on Narcotic Drugs - CND) สมัยที่ 68 ณ กรุงเวียนนา สาธารณรัฐออสเตรีย เมื่อเร็วๆ นี้

 

ในการประชุมครั้งนี้ ประเทศไทยโดย #สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ได้จัดกิจกรรมคู่ขนานภายใต้หัวข้อ “Addressing the Methamphetamine Crisis in the Mekong and Beyond” หรือการแก้ไขวิกฤตยาบ้าในลุ่มแม่น้ำโขงและภูมิภาคร่วมกับ ประเทศจีน อินเดีย ออสเตรเลีย และสำนักงานยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก (United Nations Office on Drugs and Crime, Southeast Asia and the Pacific – UNODC SEAP) ซึ่งนำเสนอประเด็นความท้าทายจากวิกฤตเมทแอมเฟตามีน โดยเฉพาะยาบ้าที่ลักลอบผลิตในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ ผ่านมุมมองของประเทศที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกภูมิภาค พร้อมสะท้อนความพยายามของไทยในการสกัดกั้นยาเสพติดตามแนวชายแดน และการศึกษาวิจัยการรักษาผู้ติดยาบ้า

 

นอกจากนี้ประเทศไทยยังได้จัดนิทรรศการในหัวข้อ “Methamphetamine Crisis in the Greater Mekong Sub-region” หรือวิกฤตยาบ้าในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงเพื่อนำเสนอสถานการณ์และผลกระทบของปัญหายาบ้าในภูมิภาค โดยร่วมมือกับ UNODC SEAP และได้รับการสนับสนุนจาก 6 ประเทศสมาชิกบันทึกความเข้าใจลุ่มแม่น้ำโขง ได้แก่ จีน กัมพูชา ลาว เมียนมา ไทย และเวียดนาม นิทรรศการนี้สะท้อนให้เห็นถึงวิกฤตเมทแอมเฟตามีนผ่านการแสดงภาพการจับกุมยาบ้าและไอซ์ล็อตใหญ่ในประเทศแถบอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง รวมถึงลักษณะทางกายภาพและทางเคมีของยาบ้าและผลกระทบต่อร่างกายและสังคมจากการแพร่ระบาดของยาเสพติด โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงสถานการณ์และความรุนแรงของปัญหายาเสพติดในระดับสากล พร้อมเรียกร้องให้ทั่วโลกให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหายาบ้าและเมทแอมเฟตามีน ซึ่งเป็นยาเสพติดสังเคราะห์ที่กำลังเป็นปัญหาวิกฤตเร่งด่วนและส่งผลกระทบในวงกว้าง





 

การขับเคลื่อนแนวทางพัฒนาทางเลือกโดยมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ

ภายในงาน มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ยังได้เข้าร่วมการประชุมคู่ขนานในหัวข้อ “Updating the UN Guiding Principles on Alternative Development (UNGP on AD): Towards More Human-Centered and Territorial Approaches” ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเน้นถึงผลลัพธ์ที่สำคัญจากการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาทางเลือกครั้งที่ 9 (EGM on AD) เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและทบทวนหลักการแนวทางของสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาทางเลือก (UNGP on AD)

ในการนี้ หม่อมหลวงดิศปนัดดา ดิศกุล เลขาธิการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้กล่าวว่า
มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหายาเสพติดจากรากฐาน โดยใช้แนวคิด People-Centered Approach หรือ การยึดคนเป็นศูนย์กลางโดยชี้ให้เห็นว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ปัญหายาเสพติดมีความซับซ้อนมากขึ้น โดยเฉพาะการปลูกพืชผิดกฎหมาย ซึ่งส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ แนวทางการพัฒนาทางเลือกจึงเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้ชุมชนมีอาชีพที่มั่นคง ลดการพึ่งพากิจกรรมผิดกฎหมาย และสร้างเศรษฐกิจท้องถิ่นที่ยั่งยืน

อีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่ถูกหยิบยกขึ้นหารือคือการเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ได้เน้นย้ำว่าการพัฒนาทางเลือกควรถูกมองว่าเป็นกลไกที่ช่วยให้ชุมชนสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การสร้างระบบคาร์บอนเครดิตที่สามารถพัฒนาเป็นรายได้ให้กับชุมชน ช่วยให้ประชาชนมีแรงจูงใจในการอนุรักษ์ป่าไม้
และลดความเสี่ยงในการหันไปทำกิจกรรมผิดกฎหมาย

พร้อมกันนี้ได้เน้นถึงความสำคัญของเรื่องสิทธิมนุษยชน ความเสมอภาคทางเพศ และการมีส่วนร่วมของชนพื้นเมืองในกระบวนการพัฒนา เพื่อให้มั่นใจว่าแนวทางนี้สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงให้กับชุมชนที่ได้รับผลกระทบ

ข้อมติระดับโลกเพื่อเสริมแนวทางพัฒนาทางเลือก

การประชุม CND สมัยที่ 68 ได้มีการรับรองข้อมติที่เสนอโดยสาธารณรัฐเปรูร่วมกับประเทศไทยและเยอรมนี โดย มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ มีบทบาทสำคัญในการเจรจาร่างข้อมติภายใต้หัวข้อ “Complementing the United Nations Guiding Principles on Alternative Development” โดยข้อมตินี้มุ่งเน้นการปรับกลยุทธ์ให้ทันสมัยสอดคล้องกับความท้าทายในปัจจุบัน เพื่อช่วยให้ชุมชนเปลี่ยนจากการพึ่งพายาเสพติดไปสู่โอกาสทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน พร้อมส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ ความเสมอภาค และสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นสิ่งที่มูลนิธิฯ เชี่ยวชาญและประสบความสำเร็จมาเป็นเวลานาน

การประชุมครั้งนี้ถือเป็นอีกก้าวสำคัญของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ในการผลักดันแนวทางพัฒนาทางเลือกให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนให้กับชุมชนทั่วโลก

 

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

-          การประชุมคณะกรรมาธิการยาเสพติด (Commission on Narcotic Drugs: CND ) เป็นการประชุมระดับนานาชาติที่มีความสำคัญต่อการกำหนดนโยบายและมาตรการควบคุมยาเสพติดในระดับโลก

 

-          โดย Commission on Narcotic Drugs หรือ CND เป็นคณะกรรมาธิการหนึ่งภายใต้คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (ECOSOC) มีภารกิจวางนโยบายด้านยาเสพติดของสหประชาชาติ ประกอบด้วยสมาชิก 53 ประเทศ โดยไทยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิก CND มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2516

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Ad