#อินเตอร์เนชั่นแนล #เอสโอเอส เผยผลสำรวจแนวโน้มความเสี่ยงปี 2568: องค์กร 75% มองความวุ่นวายทางสังคมเป็นความเสี่ยงสูงสุดในโลกที่แตกแยก
กรุงเทพฯ – อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส (International SOS) ได้เผยแพร่รายงานประเมินแนวโน้มความเสี่ยง ประจำปี 2568 (2025 Risk Outlook report[1]) เพื่อนำเสนอข้อมูลสำคัญเชิงลึกที่เกี่ยวกับความท้าทายในการเสริมสร้างความยืดหยุ่นให้กับองค์กรและบุคลากร พร้อมกับคาดการณ์ความเสี่ยงในปีนี้ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจุบันโลกกำลังเผชิญกับความแตกแยก โดย 65% ของผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านความเสี่ยงที่ร่วมตอบแบบสำรวจมองว่า ความเสี่ยงเพิ่มสูงขึ้นในปีที่ผ่านมา ในขณะที่ 69% คาดว่าความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์จะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อธุรกิจและ/หรือบุคลากรในปีนี้ นอกจากนี้ 75% ของผู้มีอำนาจตัดสินใจมองว่าความวุ่นวายทางสังคมและการเมืองเป็นความเสี่ยงระดับสูง ขณะที่ 78% เชื่อว่าภาวะหมดไฟและความเครียดจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อธุรกิจและ/หรือบุคลากรในปีนี้
แม้ว่าวิกฤตการณ์จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องยาวนาน แต่ผลการวิจัยล่าสุดชี้ให้เห็นว่า ความเสี่ยงที่สำคัญที่สุด เช่น สถานการณ์ความขัดแย้ง ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ และการประท้วง กลับเป็นเรื่องที่ผู้ตอบแบบสำรวจเตรียมพร้อมรับมือน้อยที่สุด
แซลลี ลูเวลลิน ผู้อำนวยการฝ่ายความมั่นคงปลอดภัยระดับโลกของอินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส อธิบายว่า
"ความเสี่ยงในปัจจุบันมีความเชื่อมโยงกันอย่างซับซ้อน ทำให้ปัญหาต่าง ๆ ลุกลามอย่างรวดเร็วและไม่สามารถคาดเดาได้ ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ส่งผลให้ห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงักและก่อให้เกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ ขณะที่ข้อมูลเท็จและข้อมูลบิดเบือนสร้างความสับสนมากยิ่งขึ้นและบ่อนทำลายความไว้วางใจทั้งภายในองค์กรและระหว่างประเทศ ความซับซ้อนเหล่านี้เรียกร้องให้องค์กรต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์จากการรับมือกับปัญหาเป็นการคาดการณ์ล่วงหน้า โดยใช้ข้อมูลเชิงลึกที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลข่าวกรองและความร่วมมือจากทุกฝ่าย แม้จะต้องเผชิญกับความท้าทายมากมาย แต่องค์กรที่ใช้วิธีการที่เป็นระบบในการทำความเข้าใจและบรรเทาความเสี่ยงที่ซับซ้อนเหล่านี้ ไม่เพียงแต่ปกป้องบุคลากรและการดำเนินงาน แต่ยังสามารถเสริมสร้างความยืดหยุ่นในช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนได้อีกด้วย"
ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์: ความเสี่ยงที่ซับซ้อนและทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ความไร้เสถียรภาพทางภูมิรัฐศาสตร์เป็นความกังวลอันดับต้น ๆ ขององค์กร ในปี 2568 ซึ่งสะท้อนถึงความเปราะบางของโลกที่เชื่อมโยงกันอย่างลึกซึ้ง ปัจจุบัน ธุรกิจต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่ความขัดแย้งไม่ได้จำกัดอยู่แค่การเมือง แต่ยังส่งผลกระทบในวงกว้างถึงภาคอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ และห่วงโซ่อุปทานอีกด้วย
· 75% ของผู้ตอบแบบสำรวจซึ่งเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจ มองว่าความวุ่นวายทางสังคมและการเมือง รวมถึงการประท้วง มีแนวโน้มว่าจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อธุรกิจและ/หรือบุคลากรในช่วง 12 เดือนข้างหน้า
· 74% ของผู้ตอบแบบสำรวจซึ่งเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจ เชื่อว่าความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์มีแนวโน้มว่าจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อธุรกิจและ/หรือบุคลากรในช่วง 12 เดือนข้างหน้า
· 73% ของผู้ตอบแบบสำรวจซึ่งเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจ เชื่อว่าความเสี่ยงด้านการขนส่งและการหยุดชะงักของการขนส่งมีแนวโน้มว่าจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อธุรกิจและ/หรือบุคลากรในช่วง 12 เดือนข้างหน้า
ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมีหลายรูปแบบและมักเชื่อมโยงกัน สำหรับในภูมิภาคยุโรป ความขัดแย้งในยูเครนทำให้ตลาดพลังงานไร้เสถียรภาพและพันธมิตรทางการเมืองแตกแยก ส่งผลกระทบไปทั่วทั้งทวีป ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง วิกฤตที่ยืดเยื้อทำให้การแบ่งขั้วทางการเมืองรุนแรงขึ้น ขณะที่ในเอเชีย ความตึงเครียดต่าง ๆ รวมถึงความขัดแย้งเรื่องพื้นที่ทับซ้อนในทะเลจีนใต้ ส่งผลกระทบต่อเส้นทางการค้าสำคัญที่เชื่อมโยงเศรษฐกิจโลก
ปัญหาสุขภาพจิตและภาวะหมดไฟ: ผลกระทบแฝงจากโลกที่แตกแยก
ภูมิทัศน์ทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ผันผวนมากยิ่งขึ้นส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสุขภาพจิต โดยผู้ตอบแบบสำรวจ 65% คาดการณ์ว่าความตึงเครียดและความวิตกกังวลทางการเมืองจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจและ/หรือบุคลากรในปี 2568 นอกจากนี้ แรงกดดันยังทวีความรุนแรงขึ้นเนื่องจากความเสี่ยงด้านสุขภาพได้ขยายวงกว้างขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญที่ตอบแบบสำรวจได้คาดการณ์ความเสี่ยงด้านสุขภาพที่มีแนวโน้มว่าจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจและ/หรือบุคลากรในอีก 12 เดือนข้างหน้า ดังนี้
· ความเครียดและภาวะหมดไฟ: 78%
· ผลกระทบจากวิกฤตค่าครองชีพ: 75%
· อาการป่วยทางสุขภาพจิต: 70%
· ภาวะ Quiet Quitting: 52%
· ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: 45%
ดร.ไอรีน ไล ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ระดับโลกของอินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส กล่าวว่า
"สถานการณ์ทั่วโลกไม่แน่นอน คาดเดาไม่ได้ และควบคุมไม่ได้ รวมถึงวิกฤตค่าครองชีพ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้พนักงานเครียดและหมดไฟ องค์กรที่ลงทุนอย่างจริงจังด้านความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานจะสร้างความยืดหยุ่นในการดำเนินงานได้ดีขึ้น การสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีต่อสุขภาพ รวมถึงการดูแลสุขภาพจิต ไม่เพียงแต่ช่วยให้พนักงานสามารถรับมือกับความเครียดได้ดีขึ้น แต่ยังช่วยส่งเสริมการมีส่วนร่วม เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดอัตราการลาออกของพนักงาน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวไปข้างหน้าในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว"
การสร้างความยืดหยุ่นท่ามกลางโลกที่แตกแยก
แม้ว่าองค์กรจะต้องเผชิญกับความซับซ้อนและความท้าทายมากมาย แต่ยังมีแนวทางที่ชัดเจนในการสร้างความยืดหยุ่นให้กับองค์กร โดยรายงานระบุว่า องค์กรที่มีความยืดหยุ่นมีลักษณะสำคัญ 3 ประการ ดังนี้
การเข้าถึงข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจ: ผู้มีอำนาจตัดสินใจจำเป็นต้องได้รับข้อมูลที่ทันท่วงที ตรงประเด็น และผ่านการตรวจสอบ เพื่อรับมือกับความเสี่ยงเฉพาะขององค์กร ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการแก้ปัญหาข้อมูลเท็จและข้อมูลบิดเบือน โดยผู้ตอบแบบสำรวจ 27% ระบุว่า องค์กรของตนได้รับผลกระทบจากข้อมูลเท็จ ขณะที่ 32% ไม่แน่ใจว่าข้อมูลเท็จส่งผลกระทบต่อองค์กรของตนหรือไม่ สะท้อนถึงจุดบอดที่อาจเกิดขึ้นได้
แพลตฟอร์มการจัดการความเสี่ยงแบบบูรณาการ: ระบบจัดการความเสี่ยงแบบรวมศูนย์ช่วยเพิ่มความคล่องตัวและประสิทธิภาพการทำงานของผู้บริหารความเสี่ยง อีกทั้งยังช่วยให้การสื่อสารระหว่างทีมต่าง ๆ เป็นไปอย่างราบรื่น ทำให้ผู้บริหารสามารถช่วยพนักงานรับมือกับความเสี่ยงต่าง ๆ เช่น สภาพอากาศเลวร้าย (ผู้เชี่ยวชาญ 49% เชื่อว่าภัยธรรมชาติและสภาพอากาศเลวร้ายจะส่งผลกระทบอย่างมากในปี 2568) การมีแพลตฟอร์มเดียวที่รวบรวมข้อมูลที่เชื่อถือได้จะช่วยให้องค์กรรับมือกับความเสี่ยงที่คาดการณ์ได้และไม่ได้อย่างรวดเร็ว
การจัดสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด: การรวมทรัพยากรช่วยให้องค์กรจัดลำดับความสำคัญของพื้นที่เสี่ยงสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่สิ้นเปลืองเกินควร ตัวอย่างเช่น ผู้ตอบแบบสำรวจ 64% ระบุว่าพนักงานมีความคาดหวังให้องค์กรมีความรับผิดชอบและใส่ใจในการดูแลความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน ข้อมูลนี้ชี้ให้เห็นว่าองค์กรจำเป็นต้องผนวกมาตรการด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และความมั่นคงเชิงรุกเข้ากับการดำเนินงาน ซึ่งการลงทุนด้านนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการรับมือความเสี่ยงทั้งในปัจจุบันและที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
#RiskOutlook2025: 75% of Organisations See Social Unrest as the Top Risk in a Fragmented World
Bangkok – Today, International SOS is releasing its 2025 Risk Outlook report[1] revealing essential insights into the mounting challenges for organisational and workforce resilience, alongside risk predictions for the forthcoming year. The research uncovers a Fragmenting World with 65% of the surveyed senior risk professionals perceiving that risks have increased over the past year and 69% think it is likely geopolitical tensions will have a significant impact on their business and / or people in 2025. 75% of the primary decision-makers surveyed see social and political unrest as a top risk. This comes as 78% think it is likely burnout and stress will have a significant impact on their business and / or people in the coming year.
Even in the ongoing permacrisis environment, the new research highlights that some of the most significant risks are those for which respondents said they were least prepared, including conflict, geopolitical tensions, and protests.
Sally Llewellyn, Global Security Director at International SOS, explains:
"The interconnected nature of today’s risks are creating an environment where issues escalate quickly and unpredictably. Geopolitical tensions are triggering supply chain disruptions and cyber threats, while misinformation and disinformation amplify confusion, eroding trust within organisations and across borders. These complexities demand a shift from reactive to predictive strategies, leveraging intelligence-driven insights and cross-functional collaboration. While the challenges are significant, organisations that take a systematic approach to understanding and mitigating these layered risks can not only protect their people and operations but also strengthen their resilience in an era of uncertainty."
Geopolitical Tensions: A Complex and Escalating Risk
Geopolitical instability ranks as a top concern for organisations heading into 2025, underscoring the fragility of a deeply interconnected global landscape. Businesses are now contending with an environment where conflicts are not confined to political borders but reverberate across industries, economies, and supply chains.
· 75% of respondents who are primary decision makers think political and social unrest and protests are likely to have a significant impact on their business and/or people in the next 12 months.
· 74% of surveyed primary decision makers also express the belief that geopolitical tensions are likely to have a significant impact on their business and/or people in the coming year.
· 73% of surveyed primary decision makers highlight their belief that transport risks and disruptions are likely to have a significant impact on their businesses and/or people in the next year.
The risks are manifesting in varied and often overlapping ways. In Europe, the conflict in Ukraine has destabilised energy markets and fractured political alliances, creating ripples across the continent. In the Middle East, the ongoing crises are intensifying polarisation. Meanwhile, tensions in Asia, including overlapping claims in the South China Sea, threaten critical trade routes that connect the global economy.
Mental Health and Burnout: The Hidden Costs of a Fragmented World
The increasingly volatile geopolitical landscape is taking a profound toll on mental health with 65% of participants predicting that political stress and anxiety will have a significant impact on their business and/or people in 2025. These pressures are compounded by broader wellness risks that the following percentage of surveyed experts predict are likely to have a significant impact on their business and/or people over the next 12 months:
· Stress and burnout: 78%
· Impact of the cost-of-living crisis: 75%
· Mental health conditions: 70%
· Quiet quitting: 52%
· Climate change anxiety: 45%
Dr. Irene Lai, Global Medical Director at International SOS, comments:
"The seemingly unstable, unpredictable and uncontrollable nature of global events, coupled with the cost-of-living crisis, are major factors contributing to employee stress and burnout. Businesses that proactively invest in employee wellbeing are building operational resilience. Creating a healthy workplace includes protecting and promoting mental health, which will not only help employees weather these stresses but also drive higher engagement, productivity, and retention – essential for navigating a rapidly changing world."
Building Resilience in a Fragmenting World
Despite the many complexities and challenges organisations face today, there are clear pathways to building resilience. According to the report, resilient organisations share three key characteristics:
Access to actionable intelligence: Decision-makers need timely, relevant, and verified information tailored to their organisation's specific risks. This is critical in addressing misinformation and disinformation; 27% of participants reported that their organisation has been impacted by misinformation, with a further 32% reporting being unsure if misinformation has impacted their organisation – a potential blind spot.
Integrated risk management platforms: Unified risk management systems streamline processes and enhance the productivity of risk managers. These platforms also enable seamless communication across teams, which can help leaders support their employees in when dealing with the impacts of risks such as extreme weather (49% of experts believe that the health impacts of natural disasters and extreme weather events will have a significant impact in 2025). By providing a single platform of reliable information, organisations can respond swiftly to both anticipated and unforeseen risks.
Optimised resource allocation: Consolidating resources allows organisations to prioritise high-risk areas without overextending. For example, 64% of respondents highlight increasing employee expectations about Duty of Care. This finding makes it essential to embed proactive health, safety, and security measures into operations. These investments are vital to addressing current and emerging risks.
About the International SOS Group of Companies
The International SOS Group of Companies is in the business of saving lives and protecting your global workforce from health and security threats. Wherever you are, we deliver customised health, security risk management and wellbeing solutions to fuel your growth and productivity. In the event of extreme weather, an epidemic or a security incident, we provide an immediate response providing peace of mind. Our innovative technology and medical and security expertise focus on prevention, offering real-time, actionable insights and on-the-ground quality delivery. We help protect your people, and your organisation's reputation, as well as support your compliance reporting needs. By partnering with us, organisations can fulfil their Duty of Care responsibilities, while empowering business resilience, continuity, and sustainability.
Founded in 1985, the International SOS Group, headquartered in London & Singapore, is trusted by over 9,000 organisations. This includes the majority of the Fortune Global 500. As well as mid-size enterprises, governments, educational institutions, and NGOs. Nearly 12,000 multi-cultural security, medical, logistics and digital experts stand with you to provide support & assistance from over 1,200 locations in 90 countries, 24/7, 365 days. Between them, International SOS employees speak nearly 100 languages and dialects in our Assistance Centres, Clinics, and offices.
To protect your workforce, we are at your fingertips: www.internationalsos.com
[1] The 2025 Risk Outlook is based on an online survey conducted on behalf of International SOS by Ipsos of 802 clients and contacts of International SOS, comprising of senior decision makers responsible for the health, wellbeing and or security of people in their organisations. Of those 802 clients and contacts, 85 were identified as primary decision makers. Fieldwork took place online from 20 August 2024 to 1 October 2024. The survey is complemented with interpretations and predictions from the Workforce Resilience Council and extensive proprietary data and analysis from International SOS. The Workforce Resilience Council comprises representative experts from all health, security, and safety fields. The participants in this year’s Council are from a mix of think tanks, associations, advisory boards, NGOs, and IGOs, relevant to the risks of working at home or abroad.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น