#องค์การพัฒนาเมืองญี่ปุ่น (#UR) และ #จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แลกเปลี่ยนบันทึกความเข้าใจ (#MOU) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเมืองในประเทศไทย - CyberAInews ข่าวธุรกิจ888

CyberAInews ข่าวธุรกิจ888

ข่าวเด่น ดารา บันเทิง ข่าวธุรกิจ เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีAi ข่าวธุรกิจ888 cyberainews by chokweekly chokcyberai

Post Top Ad

18 มีนาคม 2568

#องค์การพัฒนาเมืองญี่ปุ่น (#UR) และ #จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แลกเปลี่ยนบันทึกความเข้าใจ (#MOU) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเมืองในประเทศไทย

 #องค์การพัฒนาเมืองญี่ปุ่น (#UR) และ #จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  แลกเปลี่ยนบันทึกความเข้าใจ (#MOU) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเมืองในประเทศไทย

(ซ้าย) ผู้ช่วยศาสตราจารย์สรายุทธ ทรัพย์สุข คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

(ขวา) นายอิชิดะ มาซารุ ประธาน UR

UR และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แลกเปลี่ยนบันทึกความเข้าใจ (MOU)

เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2568 องค์การพัฒนาเมืองแห่งประเทศญี่ปุ่น (Urban Renaissance Agency, UR) ได้ทำข้อตกลงแลกเปลี่ยนบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อร่วมมือกันในการส่งเสริมการพัฒนาเมืองในประเทศไทย ณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

มุ่งสู่การแก้ไขปัญหาเมืองและการส่งเสริมการพัฒนาเมืองรูปแบบใหม่

องค์การพัฒนาเมืองแห่งประเทศญี่ปุ่น (Urban Renaissance Agency หรือ UR) เป็นองค์กรสาธารณะของญี่ปุ่นที่สนับสนุนด้านการพัฒนาเมือง เช่น การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งทางราง (TOD*) ในประเทศต่าง ๆ อาทิ ออสเตรเลีย ไทย และประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยการดำเนินงานของ UR เป็นไปตาม ‘กฎหมายว่าด้วยการขยายโครงสร้างพื้นฐานในต่างประเทศ’ ซึ่งประกาศใช้ในปี 2561 โดยมีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ภาครัฐและภาคเอกชนของประเทศญี่ปุ่นมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองและโครงสร้างพื้นฐานในต่างประเทศมากยิ่งขึ้น

 

โดยในครั้งนี้ UR ได้แลกเปลี่ยน MOU กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาชั้นแนวหน้าแห่งแรกของประเทศไทยที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสถาบันการศึกษาและวิจัยติดอันดับท็อปของเอเชีย ซึ่งการแลกเปลี่ยน MOU ในครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อสร้างความร่วมมือในโครงการวิจัยและพัฒนาเมืองร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด ลดการขยายตัวของเมืองอย่างไม่เป็นระบบ และผลักดันการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน รวมถึงส่งเสริมการพัฒนาเมืองรูปแบบใหม่ โดย UR จะใช้ ‘ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญที่ดำเนินโครงการพัฒนาเมืองมามากกว่า 500** โครงการในประเทศญี่ปุ่น’ ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมี ‘ความสามารถในการศึกษาวิจัย และมีความเชี่ยวชาญในด้านการพัฒนาเมืองและการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ในประเทศไทย’ นอกจากนี้ทั้งสองฝ่ายยังมีแผนในการร่วมมือกันจัดฟอรั่มในอนาคตอันใกล้ เพื่อเป็นก้าวแรกของความร่วมมืออีกด้วย

 

อาคารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

ข้อมูลอ้างอิง

* TOD (Transit Oriented Development) หรือ การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่ง เป็นรูปแบบการพัฒนาเมืองเพื่อให้ผู้คนในเมืองใช้การขนส่งสาธารณะเป็นหลัก การพัฒนา TOD ในประเทศญี่ปุ่นเริ่มขึ้นตั้งแต่การสร้างเส้นทางรถไฟครั้งแรกในปี ค.ศ. 1872 และได้พัฒนาไปพร้อมกับการขยายเครือข่ายรถไฟ จนกระทั่งกลายเป็นโครงสร้างหลักของเมืองในปัจจุบัน

** จำนวนโครงการพัฒนาเมือง (การฟื้นฟูเมือง: มากกว่า 250 โครงการ, การพัฒนาเมืองใหม่: 281 โครงการ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Ad