#คาโอ จับมือ #คณะวิศวกรรมศาสตร์ #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดถนนสีเขียว “#GreenPavement” ผลักดัน #นวัตกรรมถนนรักษ์โลก จาก #ขยะพลาสติกรีไซเคิล - CyberAInews ข่าวธุรกิจ888

CyberAInews ข่าวธุรกิจ888

ข่าวเด่น ดารา บันเทิง ข่าวธุรกิจ เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีAi ข่าวธุรกิจ888 cyberainews chokweekly chokcyberai

Post Top Ad

กดติดตามได้ทาง https://www.ข่าวธุรกิจ888.cyberaitea.com

16 กรกฎาคม 2568

#คาโอ จับมือ #คณะวิศวกรรมศาสตร์ #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดถนนสีเขียว “#GreenPavement” ผลักดัน #นวัตกรรมถนนรักษ์โลก จาก #ขยะพลาสติกรีไซเคิล

 #คาโอ จับมือ #คณะวิศวกรรมศาสตร์ #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดถนนสีเขียว “#GreenPavement” ผลักดัน #นวัตกรรมถนนรักษ์โลก จาก #ขยะพลาสติกรีไซเคิล

 

บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด หรือ Kao ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคและเคมีภัณฑ์ชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่น จับมือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดตัวโครงการ “ถนนสีเขียว Green Pavement” ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชูนวัตกรรม NEWTLAC ที่นำขวดพลาสติก PET ที่ใช้แล้ว นำกลับมาเป็นเคมีภัณฑ์ที่เป็นส่วนผสมยางมะตอยเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการก่อสร้างถนนให้แข็งแรง ทนทาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยคาโอได้สนับสนุนงบประมาณและวัสดุมูลค่ารวม 1,230,000 บาท เพื่อสร้างถนนในครั้งนี้ ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกและการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนของประเทศไทย

 

นางนฤมล นาคะเกศ รองประธาน ฝ่ายขายเคมีภัณฑ์ บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ความร่วมมือกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในโครงการถนนสีเขียว Green Pavement ครั้งนี้ ถือเป็นความภาคภูมิใจของคาโอที่ได้นำนวัตกรรม NEWTLAC มาสร้างประโยชน์ในเชิงรูปธรรม เพื่อตอบโจทย์กลยุทธ์ด้านความยั่งยืนในเรื่อง “การไม่สร้างขยะ” โดยโครงการนี้พิสูจน์ว่าขยะขวดพลาสติก PET สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและนำกลับมาใช้เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแรงและปลอดภัยได้จริง โดยมีงานวิจัยจาก Kao Corporation ประเทศญี่ปุ่น ยืนยันว่า ถนน 100 ตารางเมตรที่ใช้ NEWTLAC สามารถรีไซเคิลขวด PET ได้มากถึง 1,430 ขวด ถนนเส้นนี้จึงเป็นถนนต้นแบบสำคัญที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการพัฒนางานโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยต่อไป”

โครงการถนนสีเขียว “Green Pavement” มีส่วนหนึ่งเป็นต้นแบบถนนยางมะตอยแบบซึมน้ำ (Porous Asphalt) ที่ผสานเทคโนโลยี NEWTLAC 5510 ของคาโอ ซึ่งพัฒนาจากการนำขวดพลาสติก PET ที่ใช้แล้ว มาผ่านกระบวนการทางเคมีจนได้ผงละเอียดสีเหลืองคล้ายน้ำตาลทราย จากนั้นนำไปผสมกับยางมะตอยปกติ ผลลัพธ์ที่ได้คือยางมะตอยชนิดพิเศษที่มีคุณสมบัติโดดเด่นทั้งด้านความแข็งแรง ความทนทานกว่าเดิม ทนการกัดเซาะน้ำได้ดี และยืดอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าเดิม โดยคาโอได้สนับสนุนงบประมาณและวัสดุมูลค่ารวม 1,230,000 บาท สำหรับปรับปรุงถนนภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระยะทาง 469 เมตร เป็นพื้นที่กว่า 3,000 ตารางเมตร โดยใช้ NEWTLAC 1.3 ตัน ซึ่งสามารถรีไซเคิลขวดพลาสติก PET ได้ถึง 18,909 ใบ ทำให้ถนนเส้นนี้รักษ์โลก และยังมีคุณสมบัติโดดเด่นเรื่องความแข็งแรง ทนทาน ดูดซับน้ำได้ดี อีกทั้งยังรักษาระบบนิเวศเดิมของมหาวิทยาลัย

 

รองศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย ฟองสมุทร คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  กล่าวเสริมว่า “คณะวิศวกรรมศาสตร์มีความมุ่งมั่นที่จะเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำที่สร้างสรรค์งานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนด้านโครงสร้างพื้นฐาน เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับคาโอในโครงการ Green Pavement นี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “โครงการ Plastic Road Pavement from KAO NEWTLAC as recycle PET product ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ไม่เพียงตอบโจทย์ด้านวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่เป็น ‘Living Lab’ หรือห้องปฏิบัติการที่มีชีวิต ให้นักศึกษาและคณาจารย์ได้เรียนรู้และทดสอบประสิทธิภาพของวัสดุทดแทนในสภาพแวดล้อมจริง โดยถนนเส้นนี้แสดงให้เห็นถึงความแข็งแรง ทนทาน สามารถดูดซับน้ำได้ดี ช่วยรักษาระบบนิเวศและต้นไม้ใหญ่ซึ่งเป็นทัศนียภาพอันมีค่าของมหาวิทยาลัย โครงการนี้จึงถือว่าเป็นต้นแบบสำคัญในการต่อยอดองค์ความรู้สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทยต่อไปในอนาคต” 






 

โครงการถนนสีเขียว “Green Pavement” ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่นี้ นับเป็นพื้นที่แห่งที่ 3 ที่คาโอได้นำนวัตกรรม NEWTLAC ไปใช้งานจริง โดยก่อนหน้านี้ได้นำร่องในสองพื้นที่สำคัญ ได้แก่ ถนนในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี พื้นที่ 500 ตารางเมตร และจุดทางด่วนด่านดินแดงขาเข้ามุ่งสู่ดอนเมือง (ทางยกระดับอุตราภิมุข หรือดอนเมืองโทลล์เวย์) ทั้งสถานีด้านในและสถานีด้านนอก พื้นที่ 1,500 ตารางเมตร โดยความสำเร็จอย่างต่อเนื่องของทั้ง 3 โครงการ ถือเป็นบทพิสูจน์ที่ชัดเจนถึงความมุ่งมั่นของคาโอในการสร้างสรรค์สิ่งดี เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมให้ประเทศไทยอย่างยั่งยืน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Ad